สิวขึ้นหน้าผาก (Forehead Acne) เป็นสิวอีกตำแหน่งที่คนเป็นกันบ่อย เพราะเป็นตำแหน่ง T-Zone มีความมันจากต่อมไขมันมากเป็นพิเศษ ทำให้อาจเกิดสิวได้หลายแบบ เช่น สิวอักเสบ สิวอุดตัน สิวผด ฯลฯ
สิวขึ้นที่หน้าผาก เป็นจุดที่มองเห็นได้ง่ายมากๆ จึงอาจทำให้กังวลใจ หลายคนเลือกที่จะแคะ แกะ เกา หรือบีบเพื่อทำให้สิวเหล่านั้นหายไป แต่การทำแบบนั้นจะยิ่งทำให้สิวเห่อมากขึ้นและอาจทำให้เกิดรอยดำลึก ซึ่งจะต้องใช้เวลารักษานานกว่าจะหาย
ดังนั้น ทางที่ดีที่สุดควรจะรักษาสิวที่หน้าผากให้หายขาดด้วยวิธีการที่ถูกต้อง เพื่อให้ไม่เกิดรอยดำและเกิดสิวขึ้นซ้ำในจุดๆ เดิมอีกครับ
สวัสดีครับ ผม หมอเอ็ม นพ.มนตรี อุดมประเสริฐกุล แพทย์ประจำเอ็มวีต้าคลินิก จะมาแนะนำวิธีการรักษาสิวที่ขึ้นบนหน้าผากและวิธีดูแลผิวไม่ให้สิวเกิดขึ้นมาอีกครับ
สิวที่หน้าผากเกิดจากอะไร
มาดูกันครับว่า สิวขึ้นหน้าผากเกิดจากอะไรได้บ้าง ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายสาเหตุเลย ไม่ว่าจะเป็น…
- สิ่งสกปรก เครื่องสำอางที่ตกค้าง เคยไหมครับ? ที่เผลอล้างหน้าหรือเช็ดหน้าบริเวณหน้าผากน้อยกว่าบริเวณอื่นและไม่เกลี้ยงสะอาดพอ นี่อาจทำให้เครื่องสำอางตกค้าง กลายเป็นสิวที่หน้าผากได้ โดยเฉพาะท่านที่ไว้ผมม้าจะพบบ่อยครับ
- การใช้มือสัมผัสหน้าผากบ่อยๆ การสัมผัส แคะ แกะ เกา หน้าผากบ่อยๆ อาจกระตุ้นการเกิดสิวบนหน้าผากได้ง่าย เพราะสิ่งสกปรกจากมืออาจจะเข้าไปอุดตันกลายเป็นสิวขึ้นที่หน้าผากนั่นเอง
- เกิดจากความเครียดและการนอนหลับไม่เพียงพอ ส่งผลให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนที่กระตุ้นการทำงานของต่อมไขมันให้ผลิตน้ำมันออกมามาก จึงทำให้เกิดสิวตามมา
- เกิดจากการแพ้ผลิตภัณฑ์สำหรับเส้นผม ผลิตภัณฑ์ต่างๆ เกี่ยวกับเส้นผมอาจก่อให้เกิดสิวได้ โดยเฉพาะครีมนวดผมเพราะมักมีส่วนผสมของน้ำมันจึงอุดตันได้ง่ายครับ
- การรับประทานอาหารรสหวาน ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สิวขึ้นได้ เพราะจะส่งผลกับฮอร์โมนและทำให้เกิดสิว
- ฮอร์โมนเพศไม่สมดุล โดยเฉพาะ ช่วงวัยรุ่น ฮอร์โมนเพศจะเพิ่มจนไปกระตุ้นให้ต่อมไขมันและทำให้เกิดเป็นสิววัยรุ่นได้ ซึ่งมักขึ้นบริเวณหน้าผาก
- เกิดจากกรรมพันธุ์ หากพ่อกับแม่เคยมีประวัติเป็นสิวเยอะ ลูกก็มีแนวโน้มที่จะเป็นสิวเยอะด้วยเช่นกัน
ประเภทของสิวที่หน้าผาก ที่พบบ่อย
สิวที่สามารถเกิดขึ้นบนหน้าผากมีได้หลายประเภทด้วยกัน เช่น
สิวอุดตันที่หน้าผาก
สิวอุดตันที่หน้าผาก คือ สิวที่มีลักษณะเป็นตุ่มก้อนแข็งขนาดเล็กมีสีดำหรือขาวอยู่ตรงกลาง เกิดจากการอุดตันของน้ำมันในรูขุมขน โดยสิวอุดตันที่หน้าผากมักจะพบได้ทั้ง 2 แบบ คือ
- สิวหัวดำ (Blackhead) เป็นสิวอุดตันตื้นๆ ที่หัวสิวโดนอากาศแล้วเปลี่ยนเป็นสีดำ สิวแบบนี้จะกดออกง่าย
- สิวหัวขาว (Whitehead) เกิดจากการอุดตันของสิวในรูขุมขนที่ปิด ทำให้เป็นสิวหัวขาวที่หน้าผากและบีบออกได้ยาก
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ สิวอุดตัน ได้ที่นี่ครับ
สิวอักเสบที่หน้าผาก
จะเป็นสิวเม็ดสีแดงบวมและกดเจ็บ แบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ
- สิวตุ่มนูนแดง (Papule) สิวอักเสบหัวแดงขนาดเล็ก ไม่มีตุ่มหนอง ถ้าเอานิ้วกดจะเจ็บ
- สิวหัวหนอง (Pustule) สิวอักเสบหัวแดงขนาดเล็กที่มีตุ่มหนองขาวๆ ถ้าเอานิ้วกดจะเจ็บ
- สิวหัวช้าง (Nodule) สิวอักเสบขนาดใหญ่ กดเจ็บมาก เกิดจากการอักเสบในรูขุมขนชั้นลึก
- สิวอักเสบถุงซีสต์ (Nodulocystic) สิวอักเสบรุนแรงเป็นก้อนใหญ่มากคล้ายถุงซีสต์ มักเกิดจากสิวอักเสบหลายหัวติดกัน
อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับ สิวอักเสบ เพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ
4 วิธีรักษาสิวขึ้นหน้าผาก
สิวที่สามารถเกิดขึ้นบนหน้าผากมีได้หลายประเภทด้วยกัน เช่น
1. การใช้ยาเพื่อรักษาสิวที่หน้าผาก
การใช้ยารักษาสิวขึ้นหน้าผากจะต้องใช้อย่างถูกวิธีและใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ เพื่อความปลอดภัยและทำให้สิวที่หน้าผากหายขาดได้ เพราะยาจะช่วยลดการผลิตไขมันจากต่อมไขมัน ลดการอักเสบของสิว และช่วยกำจัดสิวได้ โดยตัวยาที่สามารถใช้ได้นั้นจะมีหลายประเภท เช่น
ยาทาในการรักษาสิวขึ้นหน้าผาก
- Retinoids เป็นยาที่ช่วยดันหัวสิวให้ตื้นขึ้นและหลุดออกไป และยังป้องกันการเกิดสิวใหม่ แต่อาจระคายเคืองผิวได้ และทำให้ผิวไวต่อแสง จึงควรทาช่วงก่อนนอน และควรใช้ครีมกันแดดเป็นประจำ
- Benzoyl Peroxide เป็นยาที่ช่วยละลายหัวสิว ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย C.acnes ได้ วิธีใช้ควรทาก่อนล้างหน้าทิ้งไว้ 2-5 นาทีแล้วล้างออก
- Salicylic Acid เป็นยาทาที่มีความเป็นกรด ช่วยลดการอุดตัน ควรใช้ความเข้มข้นอ่อนๆ 1-2%
- Topical Antibiotics ยาทาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย C.acnes ที่ทำให้สิวอักเสบ
ยากินการรักษาสิวที่หน้าผาก
- ยาปฏิชีวนะแบบทาน ช่วยลดการอักเสบและฆ่าเชื้อสิว เหมาะกับท่านที่มีสิวอักเสบขึ้นเยอะ
- ยาคุมกำเนิดชนิดรับประทาน ใช้เฉพาะผู้หญิงเท่านั้น เหมาะกับสิวขึ้นหน้าผากที่เกิดจากฮอร์โมนไม่สมดุล
- ยากิน Isotretinoin ยากินรักษาสิวที่ได้ผลดีที่สุด ช่วยลดความมัน ลดสิวใหม่ สิวเก่าแห้งกดออกง่ายขึ้น ลดสิวอักเสบ แต่กินแล้วปากแห้ง และไม่ควรทานในขณะตั้งครรภ์หรือให้นม ควรใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์
2. การใช้แผ่นแปะสิวที่หน้าผาก
แผ่นแปะสิว เหมาะกับสิวอักเสบที่เป็นสิวตุ่มแดง (Papule) สิวหัวหนอง (Pustule) และสิวหัวช้าง (Nodule) ที่ไม่ใหญ่มากนัก ช่วยดูดสิวทำให้สิวแห้งเร็วขึ้น แถมยังช่วยปกปิดหัวสิว ลดการแคะ แกะ เกา ได้อีกด้วยครับ
3. การฉีดสิวที่หน้าผาก
เป็นการฉีดหัวสิวอักเสบด้วยยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ในปริมาณน้อยมากๆ จะช่วยลดการบวมอักเสบของสิวได้ภายใน 1-2 วัน และช่วยป้องกันการเกิดรอยแผลเป็นสิวตามมาได้ โดยไม่มีผลข้างเคียง ผิวไม่บุ๋มหากทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ด้วยวิธีที่ถูกต้อง
4. การใช้มาส์กหน้า
การใช้มาส์กหน้าแบบธรรมชาติ เช่น มาร์กด้วยโยเกิร์ต หรือมาส์กหน้าแบบในคลินิกหรือสปา อาจช่วยเสริมการผลัดเซลล์ผิว ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ละลายสิวอุดตันได้ แต่หากทำเองที่บ้านควรระวังการแพ้ด้วย ก่อนใช้หมอแนะนำให้ทดสอบกับผิวหนังส่วนอื่นก่อนครับ
5. การปรึกษาแพทย์เพื่อรักษาสิวขึ้นหน้าผาก
หากคุณมีสิวที่หน้าผาก รักษาเท่าไหร่ก็ไม่หายสักที การเข้ารับการปรึกษาทางแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องสิวโดยเฉพาะนับเป็นวิธีการที่ดีที่สุด เพราะนอกจากจะได้รับการวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้องแล้ว ยังช่วยป้องกันไม่ให้ทำการรักษาแบบผิดๆ แล้วทำให้สิวขึ้นหน้าผาก เห่อหรือเพิ่มจำนวนขึ้น อีกทั้งการรักษากับแพทย์ก็ยังใช้ระยะเวลาน้อย ทำให้สิวหายไวมากยิ่งขึ้นด้วย เหมาะกับคนที่ต้องการรักษาสิวขึ้นหน้าผากให้หายขาดมากที่สุดครับ
ต้องการรักษาสิวใกล้ฉัน? คลิกเลย!
ทำยังไงไม่ให้สิวขึ้นหน้าผาก
หากไม่อยากให้สิวขึ้นที่หน้าผากต้องทำยังไงบ้าง มาดูวิธีการป้องกันสิวขึ้นหน้าผากกันดีกว่าครับ
- ล้างหน้าให้สะอาด: ด้วยโฟมล้างหน้าที่อ่อนโยน หากทำการแต่งหน้าก็ควรที่จะเช็ดเครื่องสำอางให้สะอาด เป็นประจำเช้า-เย็น อย่าลืมเน้นบริเวณหน้าผากและไรผม และถ้าต้องทำกิจกรรมที่ทำให้มีเหงื่อก็ควรที่จะซับเหงื่อให้แห้ง อย่าปล่อยให้แห้งเอง เพราะจะทำให้เกิดสิวได้ง่าย
- เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับผิว: เช่น ใช้ครีมบำรุงผิวให้ความชุ่มชื้นกับผิวหน้า เพื่อเสริมให้ผิวกลับมาแข็งแรงมากขึ้น โดยควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนของน้ำมันน้อย เช่น พวกเจล เพราะน้ำมันอาจจะไปอุดตันรูขุมขนแล้วทำให้เกิดสิวตามมา
- งดจับ แคะ แกะ เกาสิวบนหน้าผาก: เพราะมืออาจจะสกปรกจนทำให้เกิดสิว และการแคะ แกะ หรือเกาที่หน้าผากจะกระตุ้นทำให้เกิดสิวด้วย นอกจากนี้ยังทำให้มีโอกาสที่สิวจะลุกลามไปยังตำแหน่งอื่นได้ด้วย
- หลีกเลี่ยงแสงแดด: เพราะความร้อนจากแสงแดดเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดสิวผดที่หน้าผากได้
- ปรับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมซึ่งทำให้เกิดสิว: เช่น การนอนดึก การรับประทานของหวาน ความเครียด ไม่นำมือไปสัมผัสหน้าบ่อยๆ ฯลฯ
รีวิว รักษาสิวที่หน้าผาก
รีวิว รักษาสิว ที่ เอ็มวีต้า คลินิก
คำถามที่พบบ่อย เกี่ยวกับสิวที่หน้าผาก ( Q&A )
Q : สิวที่หน้าผากใช้เวลารักษานานไหม
สำหรับการรักษาสิวขึ้นหน้าผากจะใช้เวลานานหรือไม่ขึ้นอยู่กับประเภทของสิวที่ทำการรักษา ซึ่งปกติแล้วสิวระดับน้อยถึงปานกลางจะใช้เวลารักษาประมาณ 4-6 สัปดาห์ สิวที่เป็นรุนแรงอาจใช้เวลารักษาประมาณ 8-10 สัปดาห์ครับ
Q : สิวที่หน้าผากไม่หายสักที ควรทำยังไง
แนะนำให้เข้าปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่คลินิกรักษาสิวใกล้ฉัน เพื่อให้รู้สาเหตุของการเกิดสิวขึ้นหน้าผากที่แท้จริง และแพทย์จะทำการวินิจฉัยและวางแผนการรักษาได้อย่างตรงจุด ซึ่งจะช่วยให้สิวหายเร็วมากขึ้น พร้อมช่วยกู้คืนผิวสวย ใส ไร้สิว ให้กลับมาได้เร็วดังใจนะครับ
สรุปเรื่องสิวที่หน้าผาก
สิวขึ้นหน้าผากเป็นปัญหาผิวที่พบได้บ่อย เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ความมันบนใบหน้า สิ่งสกปรก แบคทีเรีย ฮอร์โมน ความเครียด เป็นต้น สิวที่หน้าผากสร้างความรำคาญใจและส่งผลต่อบุคลิกภาพ เอ็มวีต้าคลินิก คลินิกความงมีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้คำปรึกษาและรักษาสิวอย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพ เรามีเทคโนโลยีและเครื่องมือที่ทันสมัย ช่วยให้การรักษาสิวเป็นไปอย่างปลอดภัยและได้ผลลัพธ์ที่ดี นัดปรึกษาได้ที่…
- เปิด วันอังคาร – อาทิตย์ (ปิดทุกวันจันทร์)
- อังคาร – ศุกร์ : 11:00 – 20:00 , เสาร์ – อาทิตย์ : 10:00 – 20:00
- ตั้งอยู่บน ถนน อโศกมนตรี หรือสุขุมวิท 21 ตรงข้ามโรงพยาบาลจักษุรัตนิน ครับ
- สามารถจอดรถได้ที่ คอนโด สุขุมวิท ลิฟวิ่ง ทาวน์ ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมครับ
- เดินทางสะดวกได้ง่ายๆ สำหรับคนที่ไม่มีรถ หรือเลี่ยงรถติด ก็มาง่ายมากๆครับเพราะร้านเรา ใกล้กับ MRT เพชรบุรี ออก Exit 2 เดินมา
- ทางถนนอโศกมนตรี ประมาณ 200 เมตร ก็ถึง M Vita Clinic แล้วครับ
เอกสารอ้างอิง
- Are your hair care products causing breakouts? (n.d.) https://www.aad.org/public/diseases/acne-and-rosacea/hair-care-products-are-they-causing-your-breakouts
- Is that stubborn acne really acne? (n.d.) https://www.aad.org/public/diseases/acne/really-acne/stubborn-acne
- Mayo Clinic Staff. (2017). Acne. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/acne/symptoms-causes/syc-20368047
- Mayo Clinic Staff. (2018). Over-the-counter acne products: What works and why. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/acne/in-depth/acne-products/art-20045814
วันเผยแพร่