สิวหัวช้างเป็นสิวประเภทที่มีการอักเสบรุนแรง รักษาได้ยาก หากปล่อยทิ้งไว้อาจนำไปสู่การอักเสบที่มากขึ้น รวมถึงยังทิ้งร่องรอยแผลเป็นไว้ที่ผิวของเราอีกด้วย ซึ่งปัญหาเหล่านี้สร้างความหนักใจให้หลายคนไม่น้อย บางคนพยายามใช้เครื่องสำอางปกปิดรอยสิวแต่กลับทำให้สิวอักเสบมากยิ่งขึ้น
ในบทความนี้หมอจะพาทุกคนมาทำเจาะลึกกับเจ้า “สิวหัวช้าง” ว่าเกิดจากอะไร มีลักษณะอย่างไร รักษายังไง บีบได้หรือไม่ รวมถึงข้อควรรู้ต่างๆ เกี่ยวกับสิวชนิดนี้เพื่อเป็นแนวทางในการดูแลรักษา พร้อมบอกลาต้นเหตุสิวหัวช้าง
ก่อนอื่นหมอขออนุญาตแนะนำตัวเองก่อนนะครับ หมอชื่อ หมอเอ็ม นายแพทย์มนตรี อุดมประเสริฐกุล เป็นแพทย์ประจำ เอ็มวีต้าคลินิก ครับผม
สิวหัวช้าง คืออะไร
สิวหัวช้าง (Nodulocystic acne หรือ Severe Nodular acne) คือสิวอักเสบขนาดใหญ่ เกิดจากการกระตุ้นของแบคทีเรียทำให้สิวอุดตันในรูขุมขนบวมนูนขึ้นมา สิวชนิดนี้จะเกิดการอักเสบที่ผิวหนังชั้นแท้ (Dermis) ทำให้รักษาได้ยากกว่าสิวประเภทอื่นๆ เนื่องจากเป็นชั้นผิวที่อยู่ลึกลงไป หากสิวหัวช้างมีการอักเสบรุนแรงเพิ่มขึ้น จะเกิดเป็นหนอง สิวชนิดนี้นอกจากจะขึ้นบริเวณใบหน้าแล้ว ยังสามารถเกิดตามผิวหนังส่วนอื่นๆ ได้ด้วย เช่น หน้าอก หลังช่วงบน ไหล่ หรือแม้กระทั่งบริเวณรักแร้ เป็นต้น
สำหรับใครที่อยากทราบเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิวให้มากขึ้น สามารถอ่านต่อในบทความที่หมอเขียนไว้ได้เลยนะครับ: “สิว” เกิดจากอะไร? หน้าเป็นสิวรักษายังไง? วิธีลดสิว แบบ เอ็มวีต้า คลินิก
สิวหัวช้างมีลักษณะอย่างไร
สิวหัวช้างมีลักษณะเป็นตุ่มนูนสีแดงขนาดใหญ่ มีอาการบวมแดงรอบฐานสิว เนื่องจากมีปฏิกิริยาการอักเสบและมีหนองเข้าไปคั่งอยู่ บางคนเรียกว่าสิวหนองไม่มีหัว เมื่อเอามือไปสัมผัสจะรู้สึกเจ็บ ในรายอาจมีอาการคันร่วมด้วย หากมีการอักเสบรุนแรงขึ้นอาจเกิดเป็นถุงหนองได้ รวมถึงสามารถมองเห็นได้ชัดเจน ยากต่อการปกปิด
หากปล่อยไว้นานโดยไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้เกิดเป็นรอยแผลเป็น หรือหลุมสิวลึกขนาดใหญ่บนผิวของเราได้ หากเกิดสิวหัวช้าง มีอาการเจ็บปวดมาก ท่านสามารถค้นหาคลินิกรักษาสิว ใกล้ฉัน เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างตรงจุด และลดการเกิดการอักเสบที่รุนแรงต่อไปครับ
สิวหัวช้างเกิดจากอะไร
ต้นเหตุของการเกิดสิวหัวช้างมีอยู่หลายสาเหตุปัจจัย ดังนี้
1. แบคทีเรีย C.acnes ก่อให้เกิดสิวหัวช้าง
แบคทีเรีย C.acnes (Cutibacterium acnes) เป็นแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่ตามผิวหนังและรูขุมขน เมื่อถูกกระตุ้นหรือมีมากเกินไปสามารถส่งผลให้เกิดสิวหัวช้างได้ หากแบคทีเรีย C.acne นี้เพิ่มจำนวนมากขึ้นจะทำให้รูขุมขนเกิดการอักเสบ และเป็นต้นเหตุของการเป็นสิวอักเสบ
2. ต่อมไขมันผลิตน้ำมันมากเกินไป
เมื่อต่อมไขมันผลิตน้ำมันมากเกินไป (Sebum production) และบริเวณท่อรูขุมขนเกิดการอุดตันขึ้นจากเซลล์ผิวที่ลอกหลุดสะสมอยู่ในรูขุมขน จึงทำให้เกิดการสะสมของน้ำมันค้างอยู่ในรูขุมขนจนจับตัวกันแน่น เกิดเป็นสิวอุดตันขึ้น ต่อมาการอุดตันนี้ทำให้รูขุมขนขาดออกซิเจน แบคทีเรีย C.acnes ต้นเหตุของการเกิดสิวหัวช้างจึงเจริญเติบโตได้ดีนั่นเอง เนื่องจากเจ้าแบคทีเรียชนิดนี้จะไม่ค่อยชอบออกซิเจน
3. ฮอร์โมนในร่างกาย
สิวหัวช้างสามารถเกิดได้จากฮอร์โมนในร่างกายที่มีการเปลี่ยนแปลง หรือความไม่สมดุลของฮอร์โมน เมื่อฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgen) หรือที่เรียกกันว่าฮอร์โมนเพศชายเพิ่มสูงขึ้น ฮอร์โมนนี้จะเข้าไปกระตุ้นการทำงานของต่อมไขมันให้ผลิตน้ำมันออกมาเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้เกิดการอุดตันและมีโอกาสเกิดเป็นสิวหัวช้างได้
4. พักผ่อนไม่เพียงพอ
การพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือการอดนอนถือเป็นความเครียดชนิดหนึ่งที่มีผลต่อระดับการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนในร่างกาย เมื่อมีความเครียดร่างกายจะมีการสร้างน้ำมันที่มากกว่าปกติ ทำให้แบคทีเรียเจริญเติบโตได้ดี จึงเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดสิวหัวช้าง
5. สัมผัสหน้าบ่อย
การใช้มือสัมผัสที่ใบหน้าบ่อยๆ โดยที่ไม่ได้ทำความสะอาด เป็นพฤติกรรมที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดการอักเสบที่ผิวหนัง เพราะมือเรามักมีเชื้อแบคทีเรีย หรือสิ่งสกปรกสะสมอยู่ตามซอกเล็บ ง่ามนิ้วมือ ปลายนิ้ว เมื่อนำมาสัมผัสกับใบหน้าจึงอาจทำให้ผิวหนังเกิดการติดเชื้อนั่นเอง
6. ล้างหน้าไม่สะอาด
อีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดสิวหัวช้างคือ การล้างหน้าไม่สะอาด เมื่อล้างหน้าไม่สะอาดก็จะทำให้เกิดการสะสมของสิ่งสกปรกบนใบหน้า รวมถึงเกิดการอุดตันของสิ่งสกปรกในรูขุมขนทำให้เกิดสิวตามมา
7. ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่เหมาะกับสภาพผิว
หากใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่ไม่เหมาะกับสภาพผิวของตนเอง ก็เป็นหนึ่งสาเหตุของการเกิดสิวหัวช้างได้ เช่น ผลิตภัณฑ์มีส่วนผสมของซิลิโคน น้ำหอม หรือแอลกอฮอล์มากเกินไป เนื่องจากส่วนผสมเหล่านี้อาจทำให้เกิดการอุดตัน หรือทำให้ผิวเกิดการระคายเคืองได้
8. สิวหัวช้างที่เกิดจากปัจจัยอื่นๆ
- การตั้งครรภ์
- ภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovarian Syndrome: POS)
- กรรมพันธุ์จากทางครอบครัว อาจมีแนวโน้มที่เป็นสิวชนิดนี้ได้มากกว่าปกติ
- มลพิษทางอากาศ เช่น ควันรถ ฝุ่น สามารถทำให้เกิดการระคายเคืองผิวได้
- การรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลสูง แป้ง ไขมัน หรือของมันเป็นประจำ
- การเสียดสีจากการสวมใส่หน้ากากอนามัย
บริเวณที่มักเกิดสิวหัวช้าง
สิวหัวช้างมักเกิดขึ้นตามจุดต่างๆ บริเวณใบหน้า เช่น คาง จมูก หน้าแก้ม นอกจากนี้สิวชนิดนี้ยังสามารถเกิดตามผิวหนังร่างกายส่วนอื่นได้ โดยบริเวณที่มักเกิด มีดังนี้
สิวหัวช้างที่คาง
สิวหัวช้างที่คางเป็นบริเวณที่เกิดสิวหัวช้างได้ง่ายที่สุด เพราะมีโอกาสสัมผัสกับสิ่งสกปรกหรือเชื้อโรคจากมือเราได้มากที่สุดครับ เช่น นั่งเท้าคาง เกาคาง นอกจากนี้การสวมใส่หน้ากากอนามัยยังเป็นหนึ่งในปัจจัยทำให้เกิดสิวขึ้นคางอีกด้วย เพราะมีการสะสมของเชื้อแบคทีเรีย เครื่องสำอาง ฝุ่นละอองต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดการอุดตัน รวมถึงความอับชื้น และการเสียดสีของหน้ากากอนามัย
สิวหัวช้างที่จมูก
จมูกเป็นหนึ่งในบริเวณ T-zone ที่มักเกิดความมันบนใบหน้าได้มากกว่าจุดอื่นๆ เนื่องจากเป็นบริเวณที่มีต่อมไขมันมาก จึงมีโอกาสเกิดการอุดตันของระบบต่อมไขมันในรูขุมขน
สิวหัวช้างที่หลัง
บริเวณหลังเป็นบริเวณที่มีเหงื่อออกมาก รวมถึงมีความอับชื้นจากเสื้อผ้าที่สวมใส่ เมื่อมีการเสียดสีจากการสวมเสื้อผ้าเป็นประจำทุกวันก็สามารถก่อให้เกิดสิวที่หลังได้
วิธีรักษาสิวหัวช้าง
สิวหัวช้างใหญ่มากรักษาหายไหม? ถึงแม้ว่าใครหลายคนจะบอกว่าสิวชนิดนี้รักษายาก แต่ถ้าหากรักษาอย่างถูกวิธีก็สามารถทำให้ผิวของเรากลับมาเรียบเนียนได้ สำหรับวิธีรักษาสิวหัวช้างมีด้วยกันหลากหลายวิธี โดยส่วนมากจะใช้หลายๆ วิธีร่วมกันเพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
1. กินยารักษาสิวหัวช้าง
ยารับประทานที่ใช้รักษาสิวหัวช้างจะช่วยปรับฮอร์โมน ลดการทำงานของต่อมไขมัน ลดการอักเสบ ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย รวมถึงช่วยในเรื่องกระบวนการผลัดเซลล์ผิวให้เป็นไปตามปกติ ทั้งนี้หากต้องการใช้ยารับประทานควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อน สำหรับยาที่นิยมใช้รักษา มีดังนี้
- ยารับประทานที่เป็นยาปฏิชีวนะ มีประสิทธิภาพในการลดจำนวนเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเป็นต้นเหตุของการเกิดสิวหัวช้าง โดยยาที่มีจำหน่ายตามร้านขายยาได้แก่ Tetracycline และ Doxycycline ยาทั้งสองตัวนี้อาจมีผลข้างเคียงทำให้คลื่นไส้อาเจียน จึงควรรับประทานหลังอาหาร รวมถึงหลีกเลี่ยงการใช้ในสตรีมีครรภ์และให้นมบุตร
- ยารับประทาน Isotretinoin มักใช้ในผู้ที่มีสิวหัวช้างอักเสบอย่างรุนแรง ทั้งนี้ยาตัวนี้อาจมีผลข้างเคียง เช่น ผิวแห้ง ผิวไวต่อแสง จึงควรใช้ผลิตภัณฑ์กันแดดร่วมด้วย และไม่ควรใช้ในสตรีมีครรภ์และให้นมบุตร เพราะอาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์
คำเตือน : การใช้ยารักษาสิวควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ หากมีอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ควรแจ้งให้แพทย์ทราบทันที และไม่ควรซื้อยามารับประทานเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์
2. ทายารักษาสิวหัวช้าง
สิวหัวช้างทายาอะไร? ยารักษาชนิดทาเหมาะสำหรับผู้ที่มีสิวอักเสบเพียงเล็กน้อย โดยยาที่นิยมใช้ได้แก่
- ยาทาที่มีฤทธิ์ผลัดเซลล์ผิว ได้แก่ Benzoyl Peroxide, Azelaic Acid, Retinoids ส่วนใหญ่ยาเหล่านี้จะมาในรูปแบบครีมหรือเจล ใช้ทาบางๆ บริเวณที่มีสิว วันละ 1-2 ครั้ง แต่อาจมีผลข้างเคียงคือ ผิวลอก ระคายเคืองผิวหนัง แสบผิว หากใช้ยากลุ่มนี้หมอแนะนำให้หลีกเลี่ยงแสงแดด และใช้ครีมกันแดดร่วมด้วย สำหรับรายละเอียดคร่าวๆ ของยาทาที่มีฤทธิ์ผลัดเซลล์ผิวมีดังนี้
- Retinoids เป็นยาในกลุ่มอนุพันธ์วิตามินเอ ช่วยในเรื่องการอักเสบและลดการอุดตันในรูขุมขน ทำให้สิวอักเสบน้อยลง แต่ข้อควรระวังในการใช้คือ อาจทำให้ผิวเกิดการระคายเคือง ผิวบาง และไวต่อแสงแดดได้
- Benzoyl Peroxide เป็นยาทาสิวที่ใช้ได้กับสิวทุกรูปแบบรวมถึงสิวหัวช้างด้วย มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ยาตัวนี้ควรใช้ภายใต้คำสั่งของแพทย์เพื่อใช้ในปริมาณที่เหมาะสม นอกจากนี้ยา Benzoyl Peroxide อาจทำให้เกิดการระคายเคืองผิวหนังอย่างรุนแรง ดังนั้นควรทดสอบการแพ้ก่อนเริ่มใช้ยา
- Azelaic Acid เป็นยาทาสิวที่สกัดมาจากธรรมชาติ มีคุณสมบัติช่วยกำจัดแบคทีเรีย ช่วยผลัดเซลล์ผิว มีข้อจำกัดคือหากใช้ในปริมาณมากเกินไปอาจเสี่ยงทำให้ผิวไหม้ได้ จึงนิยมใช้รักษาในผู้ที่เป็นสิวหัวช้างระดับรุนแรงเท่านั้น
- ยาทาที่เป็นยาปฏิชีวนะ ได้แก่ Clindamycin และ Erythromycin ใช้ทาเฉพาะบริเวณที่เป็นสิวหัวช้าง วันละ 2-3 ครั้ง หลังใช้อาจพบผลข้างเคียงได้คือ ผิวบาง แสบผิว ผิวลอก ระคายเคืองผิวหนัง
3. ใช้ผลิตภัณฑ์ลดการอักเสบ
วิธีรักษาสิวหัวช้างนอกจากจะใช้ยาทาหรือยารับประทานแล้ว ยังสามารถเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดหน้า หรือสกินแคร์ต่างๆ ที่อ่อนโยนเหมาะกับสภาพผิวของตนเอง เพื่อช่วยลดการอักเสบของสิวชนิดนี้ได้ เช่น
- ใช้แผ่นแปะสิวเพื่อช่วยลดการบวมแดง
- ใช้คลีนซิ่งเพื่อทำความสะอาดใบหน้าให้หมดจดก่อนล้างหน้าด้วยโฟมล้างหน้า
- ใช้สกินแคร์ที่มีส่วนผสมช่วยลดการอักเสบของสิว เช่น สารสกัดจากใบบัวบก (Cica), Salicylic Acid, Retinoids เป็นต้น
4. เลเซอร์สิวหัวช้าง
การเลเซอร์สิว หรือการเลเซอร์รอยสิวจะช่วยลดจำนวนแบคทีเรีย C.acne ที่เป็นต้นเหตุของการเกิดสิวหัวช้าง รวมทั้งช่วยกำจัดไขมันที่อุดตันในรูขุมขนหลุดออกไป ทั้งนี้การเลือกใช้วิธีเลเซอร์สิวจะขึ้นอยู่กับสภาพผิว และความรุนแรงของสิว โดยเลเซอร์ที่นิยมใช้รักษาสิว และรอยสิว เช่น
- Dual Yellow Laser
- Pro Yellow laser
- Q Switch laser
- Pico Laser
- Fractora
5. ฉีดสิว
การฉีดคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) เข้าที่สิวโดยตรงเป็นหนึ่งในการรักษาที่ได้ผลดีสำหรับรักษาสิวหัวช้าง เนื่องจากสามารถลดการอักเสบลงได้ สิวยุบลงอย่างรวดเร็ว รวมถึงยังลดโอกาสการเกิดแผลเป็นอีกด้วย แต่การฉีดสิวนี้เป็นเพียงแค่ลดการอักเสบเท่านั้น ไม่ได้เป็นการรักษาสิวที่ต้นเหตุ ดังนั้นวิธีนี้จึงเหมาะกับผู้ที่มีความจำเป็น หรือมีงานสำคัญมากกว่าใช้เป็นวิธีหลักในการรักษาสิวหัวช้าง
6. ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
การปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านผิวหนังเป็นสิ่งที่ควรทำเป็นอันดับต้นๆ หากต้องการรักษาสิวหัวช้าง เพราะสิวชนิดนี้นั้น เป็นสิวที่รักษาให้หายยาก และไม่ควรบีบสิวเป็นอย่างยิ่ง ถ้ารักษาแบบผิดวิธียังเสี่ยงต่อการทิ้งร่องรอยสิวเอาไว้อีกด้วย
ดังนั้นการเข้าปรึกษาแพทย์ผิวหนังก่อนจะช่วยวางแผนรักษาสิวได้อย่างถูกวิธี เหมาะกับสภาพผิวของแต่ละบุคคล และระดับความรุนแรงของสิว อีกทั้งแพทย์ยังช่วยวิเคราะห์หาสาเหตุของการเกิดสิวได้
ดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อเป็นสิวหัวช้าง
สิวหัวช้างเป็นสิวที่มีการดูแลรักษายาก หากได้รับการดูแลแบบผิดวิธีอาจทำให้สิวหายช้าได้ ฉะนั้นเราจึงต้องมีวิธีการดูแลตัวเองที่ถูกต้อง เพื่อช่วยไม่ให้เจ้าสิวชนิดนี้เกิดการอักเสบมากขึ้น และทิ้งรอยแผลเป็นจากสิวเอาไว้บนใบหน้าของเรา ดังนี้
- ไม่สัมผัสบริเวณที่เป็นสิว เพราะเสี่ยงต่อเชื้อโรคเข้าไปกระตุ้นให้เกิดการอักเสบมากกว่าเดิมได้
- ไม่บีบสิว หรือพยายามบีบหนองที่อยู่ภายในสิวให้แตกออก เพราะอาจเกิดการอักเสบมากขึ้น และทำให้เกิดเป็นแผลขนาดใหญ่ ส่งผลให้เป็นหลุมสิวขนาดลึกได้
- รักษาสิวด้วยการรับประทานยาปฏิชีวนะ เพื่อช่วยควบคุมเชื้อแบคทีเรียและลดการอักเสบ หรือทายารักษาสิวที่มีฤทธิ์ผลัดเซลล์ผิว
- ควรล้างหน้าวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น เพื่อชำระล้างสิ่งสกปรกและเซลล์ผิวที่ตายแล้วไม่ให้อุดตันในรูขุมขน
- เลือกใช้สกินแคร์ หรือผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่อ่อนโยน เหมาะสมกับสภาพผิวของตนเอง เพื่อป้องกันการแพ้และการระคายเคืองผิว
- หลีกเลี่ยงการโดนแสงแดดโดยตรง และควรทาผลิตภัณฑ์กันแดดร่วมด้วย เนื่องจากแสงแดดสามารถกระตุ้นให้ผิวเกิดการผลิตไขมันมากกว่าปกติ
- หากเป็นสิวหัวช้างบริเวณหลัง หรือตามจุดต่างๆ ของร่างกาย ควรหลีกเลี่ยงการใส่เสื้อผ้ารัดรูปเพื่อลดการอักเสบและการระคายเคืองของผิวหนัง
วิธีป้องกันไม่ให้เกิดสิวหัวช้าง
วิธีป้องกันไม่ให้เกิดสิวหัวช้างเพิ่มขึ้น รวมถึงรอยดำ รอยแดง จากสิว สามารถปฏิบัติตามง่าย ๆ ตามหมอแนะนำ ดังนี้
- งดการสัมผัสใบหน้า เกา แกะ หรือบีบสิว เพราะอาจมีเชื้อโรคเข้าไปกระตุ้นให้เกิดสิวได้ นอกจากนี้หากไปยุ่งหรือแกะเกาบริเวณที่เป็นสิว ยังเสี่ยงทำให้เป็นรอยดำหรือรอยแผลเป็นจากสิวอีกด้วย
- ควรล้างหน้าให้สะอาดวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น หากมีการแต่งหน้า ควรเช็ดทำความสะอาดเครื่องสำอางด้วยคลีนซิ่งออกให้หมดก่อน เพื่อป้องกันการอุดตันของส่วนผสมในเครื่องสำอาง
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำสะอาด
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่กระตุ้นให้เกิดสิว เช่น ของมัน ของทอด ของหวาน แป้ง
- ควรซักทำความสะอาดผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน ผ้าห่ม และผ้าเช็ดตัวอยู่เสมอ อย่างน้อยทุก 1-2 สัปดาห์ เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นแหล่งสะสมของแบคทีเรีย
รักษาสิวหัวช้างที่เอ็มวีต้าคลินิก (M Vita Clinic)
สำหรับผู้ที่กำลังเลือกคลินิกรักษาสิวหัวช้างที่ไหนดี ที่ M Vita Clinic เป็นคลินิกที่ให้บริการดูแลด้านความงามมามากกว่า 14 ปี นำโดยนายแพทย์มนตรี อุดมประเสริฐกุล และทีมพยาบาล โดดเด่นในด้านรักษาสิวหัวช้าง และสิวทุกประเภท รอยสิว และหลุมสิว การันตีผลลัพธ์รักษาหายมากกว่า 8,000 คน M Vita Clinic พร้อมให้บริการด้วยเทคโนโลยีเลเซอร์มาตรฐานสากล ไม่ว่าจะเป็น Pro Yellow Laser, Fotona SP Spectro, Spectra XT, Forma เป็นต้น ในทุกขั้นตอนการรักษาจะอยู่ในการดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิด
รีวิวรักษาสิวของเอ็มวีต้าคลินิก
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับสิวหัวช้าง ( Q & A )
Q : สิวหัวช้างหายเองได้ไหม
สิวหัวช้างไม่สามารถปล่อยให้หายไปเองได้ครับ เนื่องจากสิวชนิดนี้เกิดขึ้นที่ชั้นหนังแท้ (Dermis) หากปล่อยทิ้งไว้ให้หายเอง สิวอาจกินพื้นที่ขยายตัวมากขึ้น หรืออาจขึ้นหลายตุ่มในบริเวณเดียวกันได้ อีกทั้งยังทิ้งรอยแผลเป็นหรือหลุมสิวลึกไว้อีกด้วย ทำให้จำเป็นต้องใช้ยาเพื่อกำจัดเชื้อออกไป
สำหรับใครที่สงสัยว่าหลุมสิวหายเองได้ไหม สามารถคลิกลิงก์เพื่ออ่านต่อในบทความที่หมอเขียนไว้ได้เลยครับ
Q : สิวหัวช้างกดได้ไหม
สิวหัวช้างเป็นสิวอักเสบรุนแรงใต้ผิวหนังจึงไม่สามารถกดออกมาได้ การรักษาจึงนิยมใช้ยาร่วมกับหัตถการอื่นๆ อย่างเช่น ฉีดสิว หรือเลเซอร์มากกว่า นอกจากนี้สิวชนิดนี้ยังสามารถทิ้งรอยหลุมสิวลึกเอาไว้ได้หากทำการกดหรือบีบออกมา ดังนั้นเมื่อพบว่าเป็นสิวหัวช้างควรปรึกษาแพทย์ผิวหนังเพื่อวางแผนรักษาให้เหมาะสมกับตนเองนะครับ
Q : สิวหัวช้าง กี่วันหาย
ระยะเวลาที่ใช้รักษาสิวหัวช้างค่อนข้างใช้เวลานานครับ เนื่องจากเป็นสิวที่มีขนาดใหญ่ มีการอักเสบ และอยู่ลึกเข้าไปในชั้นผิว อาจเป็นสัปดาห์หรือหลายเดือน ขึ้นอยู่กับว่าคนไข้แต่ละคนตอบสนองต่อยาหรือการรักษามากน้อยแค่ไหน รวมถึงสภาพผิวของแต่ละบุคคลอีกด้วย
Q : สิวหัวช้างปล่อยทิ้งไว้เป็นรอยสิวจริงไหม
สิวหัวช้างถ้าปล่อยทิ้งไว้โดยไม่มีการรักษา สามารถก่อให้เกิดรอยสิวหรือหลุมสิวลึกได้ง่ายครับ เนื่องจากสิวชนิดนี้เป็นสิวที่มีการอักเสบรุนแรงในรูขุมขน ภายในมีหนอง หากไม่ทำการรักษาอาจทำให้เป็นรอยสิว และเกิดแผลเป็นขนาดใหญ่ได้
Q : สิวหัวช้างต่างจากสิวอักเสบอย่างไร
สิวหัวช้างเป็นหนึ่งในประเภทของสิวอักเสบ ซึ่งสิวอักเสบสามารถแบ่งได้ตามความรุนแรงและขนาดของตุ่มสิวคือ สิวตุ่มนูนแดง (Papule) สิวหัวหนอง (Pustule) และสิวตุ่มแดงขนาดใหญ่ (Nodule) หรือที่เรียกกันว่า “สิวหัวช้าง” กันนั่นเอง
สรุปเรื่องสิวหัวช้าง
สิวหัวช้าง มักมีการอักเสบลึกลงไปในชั้นหนังแท้ เป็นสิวที่รักษาได้ยาก ต้องใช้ระยะเวลาในการดูแลรักษา หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รับการรักษาอย่างถูกวิธี สิวประเภทนี้อาจทิ้งรอยแผลเป็นหรือรอยหลุมสิวลึกเอาไว้ที่ผิวหน้าของเราได้ ดังนั้นเมื่อพบว่าเริ่มเป็นสิวหัวช้างควรรีบพบแพทย์เพื่อปรึกษาและรักษาให้ถูกต้องเหมาะสม
คลินิกรักษาสิวใกล้ฉัน M Vita Clinic นำทีมโดยแพทย์ผู้มีประสบการณ์ด้านความงาม มากกว่า 14 ปี ผู้ที่ต้องการรับคำปรึกษาจากหมอ หรือนัดเข้ารักษาสามารถติดต่อตามช่องทางต่อไปนี้ได้เลยครับ
- เปิด วันอังคาร – อาทิตย์ (ปิดทุกวันจันทร์)
- อังคาร – ศุกร์ : 11:00 – 20:00 , เสาร์ – อาทิตย์ : 10:00 – 20:00
- ตั้งอยู่บน ถนน อโศกมนตรี หรือสุขุมวิท 21 ตรงข้ามโรงพยาบาลจักษุรัตนิน ครับ
- สามารถจอดรถได้ที่ คอนโด สุขุมวิท ลิฟวิ่ง ทาวน์ ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมครับ
- เดินทางสะดวกได้ง่ายๆ สำหรับคนที่ไม่มีรถ หรือเลี่ยงรถติด ก็มาง่ายมากๆครับเพราะร้านเรา ใกล้กับ MRT เพชรบุรี ออก Exit 2 เดินมา
- ทางถนนอโศกมนตรี ประมาณ 200 เมตร ก็ถึง M Vita Clinic แล้วครับ
เอกสารอ้างอิง
- Cherney K. (2019, August 13). What Is Nodular Acne and How Is It Treated?. Healthline. https://www.healthline.com/health/beauty-skin-care/nodular-acne
- Ludmann P, Schleehauf B. (2022, November 16). ACNE: TIPS FOR MANAGING. American Academy of Dermatology Association. https://www.aad.org/public/diseases/acne/skin-care/tips
- McDermott A, Muinos L. (2022, June 13). How to Prevent Acne: 14 Tips to Reduce Pimples. Healthline. https://www.healthline.com/health/acne/how-to-prevent-pimples
วันเผยแพร่