‘หลุมสิว’ เป็นสิ่งที่ทุกคนไม่อยากให้เกิดขึ้นบนใบหน้าของเรามากที่สุด โดยเฉพาะหลุมสิวที่จมูก เพราะจมูกเป็นจุดที่โฟกัสเห็นชัดมากที่สุด หากเป็นสิวแล้วรักษาไม่ถูกต้อง อาจทำให้สิวบวมอักเสบมากกว่าเดิม และสิวอาจลามกระจายรุนแรงขึ้น จนเมื่อหายก็อาจกลายเป็นหลุมสิวข้างจมูกได้
ซึ่งบทความนี้หมอจะมาให้ความรู้เกี่ยวกับหลุมสิวที่จมูกโดยเฉพาะ พร้อมอธิบายสาเหตุ ประเภท วิธีรักษาการเป็นหลุมสิวที่จมูกด้วยหลักการรักษาฉบับเอ็มวีต้าคลินิกกันครับ
ก่อนอื่นหมอขออนุญาตแนะนำตัวเองก่อนนะครับ หมอชื่อ หมอเอ็ม หรือ นพ. มนตรี อุดมประเสริฐกุล แพทย์ประจำ เอ็มวีต้าคลินิก นะครับ
หลุมสิวที่จมูก
ทุกๆ คนในช่วงวัยเด็กๆ จะมีผิวที่เนียนนุ่ม สดใสกันใช่ไหมครับ แต่เมื่ออายุตัวเลขมากขึ้น เข้าช่วงวัยรุ่นเป็นต้นไป ฮอร์โมนในร่างกายที่เปลี่ยนส่งผลให้ผิวพรรณของเราขับน้ำมันมากขึ้น และเกิดปัญหาสิวขึ้นตามมา
อีกทั้งการที่ผิวต้องปะทะกับสภาพแวดล้อม อาทิเช่น อากาศร้อน เครื่องสำอาง ฝุ่น ควัน ก็อาจเสริมให้เกิดสิวได้ง่ายมากขึ้นอีก
เมื่อเกิดสิว สิ่งที่มักเกิดตามมาที่ทำให้ผิวพรรณแย่ลงไปอีกได้แก่ รอยสิว และหลุมสิว ซึ่งล้วนแล้วแต่รักษาได้ยาก และยังเห็นได้ชัด โดยเฉพาะ ‘หลุมสิวที่จมูก’ ที่รบกวนความมั่นใจ ทำลายบุคลิกภาพของเราได้ ซึ่งหากปล่อยไว้รอยหลุมสิวที่จมูกอาจทิ้งเป็นแผลเป็นถาวรได้ในภายหลังนะครับ
แล้วทำยังไงให้หลุมสิวที่จมูกหาย เพราะทิ้งร่องรอยไว้ ผิวจุดนั้นจะดูไม่เรียบเนียนแล้วยังเป็นจุดสังเกตให้ผู้อื่นเห็นชัดอีก โดยหมอจะอธิบายสาเหตุรอยหลุมสิวที่จมูกแต่ละประเภท ในพาร์ทต่อไปกันครับ
หลุมสิวที่จมูก เกิดจากสาเหตุใด
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดหลุมสิวจมูก มาจากปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในเป็น 2 กรณีดังนี้ครับ
ปัจจัยภายนอกที่ทำให้เป็นหลุมสิวที่จมูก
- พฤติกรรมชอบใช้มือแกะ แคะ เกาบริเวณหลุมสิวบนจมูก อาจทำให้หลุมสิวที่จมูกถูกเสียดสีจนทิ้งรอยข่วน ช้ำ และอาจทำให้รูขุมขนกว้างกว่าเดิมได้ ซึ่งอาจทำให้เป็นหลุมสิวจมูกลึกมากกว่าเดิม แล้วรอยที่ทิ้งบนผิวอาจทิ้งรอยสิวแบบแผลเป็นได้
ปัจจัยภายในที่ทำให้เป็นหลุมสิวที่จมูก
- ยีนพันธุกรรม สภาพผิวพรรณจากรุ่นสู่รุ่นที่เป็นหลุมสิวตรงจมูกได้ง่าย จึงอาจเป็นหลุมสิวง่ายเช่นกันครับ
- กลไกผิวหนังเกิดอาการอักเสบ ลักษณะสิวบางชนิดที่ฝังลึงลงจมูก อาจเกิดปฏิกิริยาอักเสบ จะมีโอกาสสูงที่ทำให้เกิดหลุมสิวที่จมูกแบบฝังลึกได้ แล้วสิวชนิดใดที่ทำให้เกิดหลุมสิวบนจมูก สามารถดูเนื้อหาพาร์ทต่อไปเลยครับ
สิวชนิดใดที่ทำให้เกิดหลุมสิวที่จมูก
สิว 4 ชนิดที่ก่อให้เกิดหลุมสิวที่จมูกได้ มีดังต่อไปนี้
- สิวอักเสบขนาดก้อนใหญ่ (Nodule) มีลักษณะเป็นสิวอักเสบ หรือสิวหัวหนองที่มีหัวและไม่มีหัวก็ได้ มีขนาดโตนูนแดง สร้างความเจ็บแสบบริเวณผิวใกล้เคียง มักเป็นก้อนสิวขึ้นหน้าผาก กับจมูกโดยส่วนใหญ่
- สิวหลายหัวในเม็ดเดียว (Carbuncle Acne) หรือ สิวหัวช้าง มีลักษณะเป็นสิวอุดตันหลายๆ ก้อนสะสมอยู่ในหลุมเดียว มักเป็นก้อนสิวที่มีหัวหรือไม่มีก็ได้ เป็นอีกหนึ่งสิวที่สร้างแผลเป็นได้ ส่วนใหญ่จะเป็นสิวขึ้นคางกับจมูก
- สิวเรื้อรัง (Recurrent Inflammatory Acne) มีลักษณะเป็นสิวอุดตันที่เกิดขึ้นจากหลุมสิวที่เดิม มีลักษณะนูนแดง บวมเห็นได้ชัด ทิ้งรอยเป็นหลุมสิวได้ง่าย
- สิวซีสต์ (Cystic Acne) มีลักษณะเป็นสิวไม่มีหัว บริเวณพื้นผิวจะนูนแดงเป็นก้อนบวม ข้างในสิวจะมีก้อนเลือดกับหนองผสมอยู่ข้างใน เป็นสิวที่รุนแรงที่สุด และชนิดสิวนี้สามารถทิ้งรอยแผลเป็นได้ในภายหลัง
ประเภทของหลุมสิวที่จมูก
โดยทั่วไป เราจะแบ่งประเภทหลุมสิวที่จมูกหลักๆ เป็น 3 แบบครับ
1. หลุมสิวที่จมูกแบบ Rolling Atrophic Scar
หลุมสิวที่จมูกแบบคลื่น มีลักษณะเป็นหลุมสิวขนาดกว้าง ขอบไม่ชัด ไม่แข็ง ฐานของหลุมจะเป็นทรงโค้งตื้นติดก้นกระทะ สามารถดึงผิวให้ตึง ยกกระชับให้หลุมสิวปรับสภาพให้เรียบเนียนได้ง่าย เป็นหนึ่งในหลุมสิวที่จมูกที่รักษาง่ายที่สุด
2. หลุมสิวที่จมูกแบบ Boxcar Atrophic Scars
หลุมสิวที่จมูกแบบบล็อก มีลักษณะเป็นหลุมสิวขนาดกว้างกับฐานลึกพอๆ กัน แสดงขอบหลุมชัดเจน คล้ายโดนรถสิบล้อทิ้งรอยเป็นหลุมสิวระดับตื้นหรือลึกถึงชั้นใต้ผิวหนังได้ในบางเคส เป็นหลุมสิวที่เจอบ่อยมาก จะมีพังผืดเกาะติดหลุมเยอะมาก
3. หลุมสิวที่จมูกแบบ Icepick Atrophic Scar
หลุมสิวที่จมูกแบบรูเจาะน้ำแข็ง มีลักษณะเป็นหลุมสิวรูแคบๆ และฐานเจาะลึกเป็นรูน้ำแข็ง เป็นหลุมสิวระดับตื้นหรือลึกถึงชั้นใต้ผิวหนังแท้ มักอยู่เป็นก้อนกลุ่มๆ ส่วนใหญ่เป็นสิวที่ถูกพบเจอในบริเวณที่แก้ว กับ หลุมที่จมูก เป็นหนึ่งในหลุมสิวที่จมูกที่รักษายากที่สุด
วิธีแก้หลุมสิวที่จมูกเบื้องต้น
ในส่วนของพาร์ทนี้ หมอจะแนะนำวิธีแก้หลุมสิวที่จมูกแบบเบื้องต้น ที่สามารถรักษาได้ด้วยตัวเอง และให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญรักษาได้ จะมี 3 วิธี ดังนี้ครับ
1. การทายาแก้หลุมสิวที่จมูก
การใช้ยาประเภททารักษาสิวทาบริเวณหลุมสิวที่จมูก จะเป็นตัวยาในกลุ่มวิตามินเอ ซึ่งตัวหลักๆ มี 2 ชนิดดังนี้
- กรดวิตามิน A(Tretinoin ; Retin-A) ช่วยรักษาสิว และกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนในหลุมสิวที่จมูกทำให้หลุมสิวตื้นขึ้น แต่ทั้งนี้ผลจะเห็นได้เฉพาะกับหลุมประเภทคลื่น Rolling scar ที่ไม่ลึกมากนัก และต้องทาอย่างน้อย 4-6 เดือนจึงเริ่มเห็นผล
- ดิฟเฟอรีน(Adapalene ; Differin) ออกทธิ์เช่นเดียวกับกรดวิตามิน เอ แต่ระคายเคืองน้อยกว่า
2. การทำทรีทเมนต์กรดวิตามินเอ
การทำทรีทเมนต์อาทิ ผลัดเซลล์ผิว นวดหน้า มาส์กหน้า โดยใช้กรดวิตามินเอในการรักษาโดยเฉพาะ จะช่วยให้ผิวหนังบนใบหน้ากระจ่างใส ลดสิวในรูขุมขนให้หายออกไป หลุมสิวที่จมูก คาง แก้ม รวมไปถึงทุกๆ ส่วนของใบหน้าจะสร้างเนื้อเยื่อให้หลุมค่อยๆดูตื้นขึ้น แม้ผลอาจจะไม่ชัดเจนมากนัก แต่วิธีนี้ก็ยังช่วยปรับสภาพผิวให้กระจ่างใส ดูสม่ำเสมอ มีสีผิวสุขภาพดี
การใช้สารสกัดจากธรรมชาติ
การใช้สารสกัดจากธรรมชาติ อาทิ น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น, เจลว่านหางจระเข้, ใบบัวบก, มะละกอสุก จะช่วยทำให้ผิวหนังที่เป็นหลุมสิวกระตุ้นกลไกการสร้างคอลลาเจนชั้นใต้ผิวหนังให้สร้างเนื้อเยื่อขึ้นมาใหม่ และทุกสารสกัดธรรมชาติที่กล่าวไป จะมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยให้รอยหลุมสิวที่จมูกดูอ่อนนุ่ม ไม่แข็งกระด้าง ช่วยให้ผิวหนังมีความชุ่มชื้น แต่ทั้งนี้ผลอาจจะไม่ได้ชัดเจนมากครับ
แนะนำการรักษาหลุมสิวที่จมูกอย่างถูกวิธี
มาต่อกันที่การรักษาหลุมสิวที่จมูกโดยภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกันนะครับ แต่ละวิธีจะมีกระบวนการรักษาอย่างไรบ้าง เหมาะกับผู้ที่เป็นหลุมสิวประเภทไหน ดูกันเลยครับ
1. การเลเซอร์หลุมสิวที่จมูก
เลเซอร์หลุมสิวที่จมูกจะเป็นการสร้างความร้อนบนรูขุมขนลึกให้กระตุ้นคอลลาเจนชั้นใต้ผิวหนังขึ้นมาใหม่ ซึ่งการทำเลเซอร์เพื่อรักษารอยดํา รอยแดง จากสิว และหลุมสิวที่จมูกจะแบ่งออกเป็น 2 แบบได้แก่
- เลเซอร์รอยสิวสำหรับผิวชนิดไม่มีแผล (Non Ablative Laser Resurfacing) คุณสมบัติเลเซอร์ชนิดนี้ จะมีอนุภาคพลังงานไม่ทำให้เกิดการกรอผิว รัศมีเข้าลึกไปถึงชั้นหนังแท้ ส่งผลให้คอลลาเจนผิวแปรสภาพหดตัว เกิดกระบวนการการวางโครงสร้างผิวขึ้นใหม่โดยไม่ทำให้ผิวเกิดแผลเป็นหรือสะเก็ดใดๆครับ ซึ่งเลเซอร์สำหรับรักษาหลุมสิวที่จมูกจะมี Dual Yellow Laser และ q switch laser ครับ
- เลเซอร์รอยสิวสำหรับผิวชนิดมีแผล (Ablative Laser Resurfacing) คุณสมบัติเลเซอร์ชนิดนี้จะปล่อยพลังงานทำปฏิกิริยากับผิว เพื่อกรอผิวชั้นหนังกำพร้าออกไป กระตุ้นให้มีการสร้างชั้นผิวใหม่ขึ้นมา และหลุมสิวก็จะดีขึ้นครับ เช่น Dual Yellow Laser ครับ
2. การรักษาหลุมสิวที่จมูกด้วยการทำ Subcision
การผ่าตัดหลุมสิวที่จมูกด้วยซับซิชั่น (Subcision) เป็นการผ่าตัดชนิดหนึ่งที่ใช้เข็ม Nokor Needle ใบมีดขนาดเล็กทำการสอดเข้าไปใต้หลุมสิวแล้วตัดพังผืดที่ยึดติดกับหลุมสิวทั้งหมดให้ถูกตัดขาดออกจากกัน เหมาะสำหรับการรักษาหลุมสิวที่จมูกแบบบล๊อก เห็นผลชัดเจนหลังการทำครั้งแรก แต่อาจจะมีอาการบวมช้ำเล็กน้อยประมาณ 5 – 7 วัน
3. การแต้มกรด TCA CROSS เพื่อรักษาหลุมสิวที่จมูก
การใช้กรด TCA CROSS (Tri-Chloroacetic Acid Chemical Reconstruction Of Skin Scars) ในการผลัดเซลล์หลุมสิวที่จมูก มีความเข้มข้นระดับปานกลาง เห็นผลจากการแต้มประมาณ 3 – 5 ครั้ง ไม่แนะนำให้คนไข้ซื้อกรดชนิดนี้ตามช้อปออนไลน์มาแต้มด้วยตัวเองเด็ดขาด ควรได้รับการรักษาจากทางแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการรักษาจึงปลอดภัยกว่าครับ
4. การฉีดฟิลเลอร์หลุมสิวที่จมูก
การฉีดฟิลเลอร์หลุมสิวที่จมูก จะใช้สารประกอบกลุ่มกรดไฮยาลูโลนิก (Hyaluronic Acid : HA) เนื้อบางเบา เหมาะสำหรับหลุมสิวที่จมูกแบบบล็อกและแบบคลื่น ทำการฉีดบริเวณพื้นผิวส่วนที่เป็นหลุมสิว เพื่อเติมเต็มส่วนที่บุ๋มให้ผิวดูตื้นขึ้นมา เห็นผลชัดทันทีหลังฉีดครั้งแรก
5. การผ่าตัดหลุมสิวที่จมูก
การผ่าตัดหลุมสิวที่จมูกจะใช้ใบมีดขนาดเล็กคว้านรอยหลุมสิวออกให้หมด แล้วเย็บแผลให้ติดกับผิวสมานกัน ซึ่งวิธีนี้สามารถรักษาหลุมสิวที่จมูกแบบรูเจาะน้ำแข็งและแบบบล็อกได้มีประสิทธิภาพ
การป้องกันการเกิดหลุมสิวที่จมูก
การป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดหลุมสิวที่จมูกอีกครั้ง ควรปรับพฤติกรรมการดูแลใบหน้าโดยเฉพาะบริเวณช่วงจมูกอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้คนไข้ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์เพื่อให้ประสิทธิภาพการรักษาหลุมสิวที่จมูกดีขึ้น แล้วทำอย่างไรไม่ให้เกิดสิว มาดูกันว่าทำอย่างไรไม่ให้เกิดสิวที่จมูกในหัวข้อถัดไปกันเลยครับ
ทำอย่างไรไม่ให้เกิดสิวที่จมูก
- ล้างหน้าให้สะอาดทุกครั้งหลังอาบน้ำหรือทำกิจกรรมหนักๆ เสร็จ ขั้นต่ำ 2 รอบต่อวัน
- ใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าที่ไม่รบกวนความสมดุลของค่า pH ของผิวหนัง
- ไม่เก็บ แคะ บีบ หรือเกา บริเวณหลุมสิวที่จมูก ควรใช้ยาทาในการรักษาแทน
- เปลี่ยนหน้ากากอนามัย 1-2 อันต่อวัน
- นอนหลับพักผ่อนขั้นต่ำ 6 – 7 ชั่วโมงต่อวัน
- หลีกเลี่ยงความตึงเครียด หากิจกรรมบรรเทาความกดดันของตัวเอง
รักษาหลุมสิวที่จมูกกับเอ็มวีต้าคลินิก
รักษาหลุมสิวที่จมูกกับเอ็มวีต้าคลินิกกับหมอเอ็ม แพทย์ผู้เชี่ยวชาญการรักษาสิว รอยสิว และหลุมสิวมามากกว่า 10 ปี ทางหมอมีเทคนิคการใช้เลเซอร์แบบผสมผสานร่วมกับวิธีต่างๆ เพื่อให้การรักษาสิวชนิดอื่นให้ดึยิ่งขึ้นหลังเห็นผลการทำครั้งแรก ที่รอยสิวดูกระชับเรียบเนียนมากขึ้นแน่นอนครับ
คอร์สรักษาหลุมสิวที่จมูกกับ Mvita Clinic
โปรแกรม Fractora Angel Touch เป็นคอร์สสำหรับการรักษาหลุมสิวที่จมูกทุกชนิด จะใช้วิธีรักษาเฉพาะทางในที่ทางเอ็มวีต้า คลินิก กับ คุณหมอเอ็มเท่านั้น เห็นผลลัพธ์แน่นอนหลังทำครั้งแรก
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับหลุมสิวที่จมูก ( Q & A )
Q : หลุมสิวที่จมูกหายเองได้ไหม
หลุมสิวที่จมูกไม่สามารถหายได้ด้วยตัวเองเลยครับ เนื่องจากหลุมสิวคือเนื้อเยื่อกัลคอลลาเจนบนใบหน้าที่ตายไปแล้ว กลไกการทำงานของร่างกายไม่สามารถกระตุ้นสร้างคอลลาเจนได้ด้วยตัวเอง ดังนั้นวิธีช่วยขจัดหลุมสิวที่จมูกได้ดีที่สุดคือการใช้นวัตกรรมการรักษาหลุมสิวที่จมูกตามคำแนะนำของแพทย์จะช่วยให้เห็นผลลัพธ์การรักษาได้ดียิ่งขึ้นครับ
Q : ทำไมถึงห้ามบีบสิวที่จมูก
เนื่องจากการบีบหลุมสิวข้างจมูกหรือบนจมูกอาจเพิ่มระดับความรุนแรงของเม็ดสิวที่ค้างคาอยู่ในซอกกลายเป็นสิวอักเสบได้ นอกจากนี้ยังทำให้ผิวบริเวณข้างเคียงที่ถูกแรงบีบบวมแดง สร้างความเจ็บปวด และเลวร้ายที่สุดอาจเกิดหลุมสิวที่จมูกบริเวณใกล้เคียงตามมาด้วยครับ
สรุป หลุมสิวที่จมูก
สิ่งที่ผู้เป็นหลุมสิวที่จมูก ควรปฏิบัติเป็นอย่างแรกคือการ งดแคะ แกะ บีบ บริเวณหลุมสิวเด็ดขาดนะครับ ให้เรื่องต้นตอของหลุมสิวที่จมูกอยู่ภายใต้การดูแลรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวดีกว่านะครับ เพราะทางคุณหมอสามารถตรวจเช็คสามารถสิวของคนไข้ เลือกเทคนิคในการรักษาได้ถูกต้อง รวมไปถึงการให้ยาที่เหมาะสมสำหรับสภาพพื้นผิวแต่ละเคสกันไปครับ
หากท่านใดอ่านมาถึงตรงนี้แล้วรู้สึกสนใจ อยากเข้ารับบริการรักษาหลุมสิว เลเซอร์หลุมสิว หรือหากอยากต้องการประเมินผิวหน้า สามารถติดต่อนัดคิวพบหมอ หรือสอบถามโปรโมชั่น ได้ที่…
- เปิด วันอังคาร – อาทิตย์ (ปิดทุกวันจันทร์)
- อังคาร – ศุกร์ : 11:00 – 20:00 , เสาร์ – อาทิตย์ : 10:00 – 20:00
- ตั้งอยู่บน ถนน อโศกมนตรี หรือสุขุมวิท 21 ตรงข้ามโรงพยาบาลจักษุรัตนิน ครับ
- สามารถจอดรถได้ที่ คอนโด สุขุมวิท ลิฟวิ่ง ทาวน์ ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมครับ
- เดินทางสะดวกได้ง่ายๆ สำหรับคนที่ไม่มีรถ หรือเลี่ยงรถติด ก็มาง่ายมากๆครับเพราะร้านเรา ใกล้กับ MRT เพชรบุรี ออก Exit 2 เดินมา
- ทางถนนอโศกมนตรี ประมาณ 200 เมตร ก็ถึง M Vita Clinic แล้วครับ
เอกสารอ้างอิง
- Kushneet K. (2023, Jan 25). How To Remove Scars On Nose? olivaclinic https://www.olivaclinic.com/blog/how-to-get-rid-of-pimple-scars-on-nose
- Kiara A. (2018, Set 18). Treatment for Atrophic Scars https://www.healthline.com/health/atrophic-scar
วันเผยแพร่