สิวขึ้นคางเกิดจากอะไร รักษาและป้องกันอย่างไรให้หายขาด

สิวขึ้นคาง กรอบหน้า เกิดจากอะไร? รักษายังไง? ขั้นตอนการรักษาเป็นยังไง?

สิวขึ้นคาง เกิดจากอะไร? ปัญหาที่พบบ่อยกับคนทุกเพศทุกวัยโดยเฉพาะวัยรุ่นและกลุ่มผู้หญิง โดยสาเหตุหลักเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน และอาจมีอาการเห่อมากขึ้นในช่วงก่อนมีรอบเดือน ทำให้สูญเสียความมั่นใจ และเกิดความเครียดได้ สำหรับท่านที่มีความกังวลเกี่ยวกับปัญหาสิวขึ้นคาง วันนี้หมอจะมาพูดถึงสาเหตุ ว่าสิวชนิดนี้เกิดจากอะไร และมีวิธีการรักษาอย่างไรนะครับ

ก่อนอื่นหมอขออนุญาตแนะนำตัวเองก่อนนะครับ หมอชื่อ หมอเอ็ม หรือนายแพทย์มนตรี อุดมประเสริฐกุล เป็นแพทย์ประจำเอ็มวีต้าคลินิกครับ

สิวขึ้นคาง คืออะไร

สิวขึ้นคาง คือ สิว (Acne Vulgaris) ที่เกิดจากหลายปัจจัยรวมกัน รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน พันธุกรรม และการระคายเคืองผิวหนัง เมื่อรูขุมขนอุดตันด้วยน้ำมันและเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว สิ่งนี้สามารถทำให้เกิดสิว สิวหัวดำ สิวหัวขาว และซีสต์ บริเวณคางได้

ทำไมเป็นสิวขึ้นคาง?

ทำไมเป็นสิวที่คาง? ในหัวข้อนี้ หมอจะพูดถึง สิวขึ้นคางที่มีความสัมพันธ์กับสิวที่พบในผู้หญิงวัยทำงาน (Adult Female Acne) ซึ่งมักพบในคนไข้ผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ประมาณ 25 ปีขึ้นไป ซึ่งลักษณะของสิวประเภทนี้ สิวฮอร์โมนคางจะมีความแตกต่างจากสิวที่พบในคนไข้กลุ่มวัยรุ่นค่อนข้างชัดเจน ดังรูปประกอบข้างล่างนี้

สิวใต้คาง

วัยรุ่นมักมีสิวขึ้นบริเวณทีโซน (หน้าผาก หัวคิ้ว จมูก ข้างจมูก ริมฝีปากบน-ล่าง) ส่วนใหญ่เป็นสิวอุดตัน ขึ้นติดกันหนาแน่น อาจมีสิวอักเสบร่วมด้วย ส่วนวัยทำงานมักมีสิวบริเวณโซนล่างของใบหน้า (ใต้ริมฝีปากล่าง คาง สิวขึ้นกรอบหน้า และอาจลามถึงคอ) มีสิวอุดตันน้อยกว่า แต่มักเป็นสิวอักเสบเม็ดโต ตุ่มหนอง หรือสิวไม่มีหัวชัดเจน ทั้งนี้ ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้มีสิวที่คางจะสัมพันธ์กับรอบเดือน โดยสิวมักเห่อขึ้น 1 สัปดาห์ก่อนมีรอบเดือน

สิวที่คางเกิดจากสาเหตุอะไร ?

สำหรับสาเหตุของสิวขึ้นคางนั้นพบว่าเกิดจากหลายปัจจัยส่งผลร่วมกัน ดังต่อไปนี้

1. กรรมพันธุ์

กรรมพันธุ์

มีงานวิจัยพบว่า ผู้มีปัญหาสิวที่คางในวัยทำงานมักมีญาติสายตรง (First degree relatives เช่น พ่อ แม่ ลูก พี่น้อง) ที่มีปัญหาสิวเช่นกัน และยังพบความสัมพันธ์ในเรื่องความมัน ลักษณะสิว และอายุที่เริ่มเป็นสิวด้วย

2. ฮอร์โมน

ฮอร์โมน

บทบาทของฮอร์โมนเพศชายที่มีผลต่อการเกิดสิวที่คางมีงานวิจัยรับรองค่อนข้างเยอะ ฮอร์โมนเพศชายสำคัญได้แก่ เทสโทสเตอโรน (Testosterone), SDHEA และ DHT ซึ่งจะกระตุ้นต่อมน้ำมันให้ขับน้ำมันมากขึ้นและมีขนาดใหญ่ขึ้น โดย DHT มีฤทธิ์แรงที่สุด ขณะที่ฮอร์โมนเพศหญิง (เอสโตรเจน) จะยับยั้งการทำงานของต่อมน้ำมันและการหลั่งฮอร์โมนแอนโดรเจน

ผู้หญิงก็มีฮอร์โมนเพศชายเช่นกัน แต่ในปริมาณน้อยกว่าผู้ชาย ซึ่งแต่ละคนมีไม่เท่ากันขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น กรรมพันธุ์ ส่วนผู้ชายมักมีสิวทั่วใบหน้ามากกว่าเจาะจงที่บริเวณใดบริเวณหนึ่ง

ในผู้หญิงที่มีปัญหาสิวที่คาง จะพบลักษณะของฮอร์โมนที่ทำให้เกิดสิวง่ายขึ้น ได้แก่

  • ต่อมไขมันไวต่อการถูกฮอร์โมนแอนโดรเจนกระตุ้นมากกว่าปกติ
  • ที่ต่อมไขมันและเซลล์ผิวมีการแปรรูปแอนโดรเจนจากตัวที่มีฤทธิ์อ่อนไปเป็นตัวที่มีฤทธิ์แรงกว่า
  • 60-70% ของผู้หญิงจะมีสิวที่คางเห่อมากขึ้นช่วงก่อนมีประจำเดือน
  • สิวที่คางอาจบ่งบอกถึงความผิดปกติของฮอร์โมน เช่น ซีสที่รังไข่หรือความผิดปกติจากต่อมหมวกไตนอกจากนี้ยังพบอีกว่า
  • สิวที่คางยังอาจเกิดจากปัจจัยภายนอกอื่น ๆ เช่น พฤติกรรมต่าง ๆ
  • องค์ประกอบของน้ำมันที่หล่อเลี้ยงผิวเปลี่ยนแปลงไปจากปกติ
  • รูขุมขนอุดตันจากการเพิ่มจำนวนของเซลล์ขี้ไคล
  • แบคทีเรีย C. acnes มีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นให้เกิดสิวใต้คาง
  • ปฏิกิริยาการอักเสบอาจทำลายคอลลาเจนและทำให้เกิดหลุมสิว
  • สิวที่คางสามารถเกิดจากปัจจัยภายนอกอื่นๆ ได้ เช่น พฤติกรรมต่างๆ

สิวขึ้นคาง เกิดจากพฤติกรรมอะไร ควรหลีกเลี่ยงอะไร ?

พฤติกรรมที่ทำให้เกิดสิวขึ้นคาง มีดังนี้

  1. ขนคุด (Ingrown hair) โดยเฉพาะในผู้ชาย มักเกิดหลังการโกนหนวดเคราเกลี้ยงเกินไป ทำให้ปลายตอขนจมอยู่ใต้รูขุมขน เมื่อขนงอกใหม่จะแทงผิวหนังในรูขุมขน เกิดภาวะรูขุมขนอักเสบ (Pseudofolliculitis barbae) คล้ายสิวอักเสบ ต่างจากสิวตรงที่มักไม่ค่อยพบสิวอุดตันร่วมด้วย และการอักเสบมักเกิดหลังการโกนหนวดเครา
  2. อาหารกลุ่มนม น้ำตาล ก็มักก่อให้เกิดสิวได้ในบางราย
  3. ความเครียด การพักผ่อนน้อย ส่งผลต่อฮอร์โมนและทำให้เกิดสิวอักเสบ
  4. การอุดตันจากสกินแคร์หรือเครื่องสำอางบริเวณคาง มักเกิดจากการทำความสะอาดผิวที่คางไม่เพียงพอ
  5. การสูบบุหรี่ก็อาจทำให้เกิดสิวได้ง่ายขึ้น
รักษาสิวกับแพทย์
Line @ : @mvitaclinic

สิวขึ้นที่คาง แบ่งเป็นกี่ประเภท ?

สิวขึ้นที่คาง แบ่งเป็นกี่ประเภท หลักๆ แล้วสิวบริเวณคาง และบริเวณกรอบล่างของใบหน้านั้นมักจะมีความเกี่ยวข้องกับสิวในวัยทำงานของผู้หญิงลักษณะของสิวส่วนใหญ่จะเป็นสิวอักเสบ แต่ก็มีสิวประเภทอื่นๆ เช่นกัน โดยจะมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ชนิดสิวที่คาง

1. สิวเสี้ยนใต้คาง

ในผู้หญิงบางท่าน สิวบริเวณคางมีลักษณะเป็นสิวเล็ก ๆ คล้ายสิวเสี้ยนแต่ไม่มีหัว อยู่บริเวณกลางคางค่อนข้างเต็มแน่น จะเห็นชัดเวลาเม้มปาก สิวแบบนี้กดยาก หัวสิวไม่ใหญ่ มักเป็น Microcomedone เวลากดมักออกมาเป็นน้ำ การรักษาสิวอาศัยยาทาและยากินเป็นหลัก

2. สิวอุดตันใต้คาง

สิวอุดตันที่คางมีหัวชัดเจน เมื่อลูบจะเป็นก้อนแข็ง ต้องประเมินความลึกของสิว หากไม่ลึกมากสามารถกดออกได้ แต่ควรกดโดยผู้เชี่ยวชาญ ไม่แนะนำให้กดเองเพราะอาจเกิดแผลเป็นได้ง่าย

3. สิวอักเสบที่คาง

สิวชนิดนี้เป็นสิวที่ค่อนข้างพบบ่อย เป็นลักษณะเฉพาะของสิวในผู้หญิงวัยทำงาน ลักษณะการอักเสบบ่งบอกถึงสาเหตุและความรุนแรง ใช้ประเมินวิธีรักษาที่เหมาะสม หากเป็นตุ่มหนองแสดงว่าการอักเสบอยู่ระดับตื้น เกิดจากสิวอุดตันขนาดไม่ใหญ่มาก การรักษาจะง่ายกว่า

4. สิวหัวช้างที่คาง

สิวอักเสบขนาดใหญ่หรือสิวหัวช้าง เกิดจากการอุดตันในระดับลึกมาก กดยาก ควรใช้วิธีฉีดยาลดการอักเสบจะได้ผลดีกว่า และอาจใช้ยาทาและยากินร่วมด้วย

5. สิวผดที่คาง

สำหรับกรณีของสิวผดที่คางอาจจะต้องประเมินว่าเป็นลักษณะของสิวอุดตันหรือไม่ ถ้าเป็นกลุ่มนี้ก็สามารถรักษาด้วยการกดออกร่วมด้วยได้ บางรายเป็นลักษณะสิวเสี้ยนซึ่งต้องรักษาด้วยยาทาหรือยากินเป็นหลัก และต้องแยกจากโรคอื่น ๆ เช่น perioral dermatitis, rosacea, seborrheic dermatitis หรือผื่นแพ้อักเสบ ซึ่งการรักษาแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง

6. สิวขึ้นคางไม่มีหัว

สิวไม่มีหัวเป็นชื่อเรียกที่ใช้กันสำหรับสิวที่บีบออกได้ยาก บีบหัวสิวออกไม่ได้ หรืออุดตันใต้ผิว สามารถเป็นใต้ในลักษณะของสิวอุดตันและสิวอักเสบใต้ผิว

7. สิวฮอร์โมนคาง

ส่วนใหญ่เป็นสิวอักเสบ โดยเฉพาะที่ขึ้นเห่อช่วงก่อนมีรอบเดือน ซึ่งบ่งชี้ชัดเจนว่าเกี่ยวข้องกับฮอร์โมน แต่อาจจะต้องตรวจเช็คสัญญาณของปัญหาทางสูตินรีเวชหรือโรคต่อมไร้ท่อด้วย เช่น ซีสในรังไข่หรือต่อมหมวกไต

ทำงานผิดปกติ หากสงสัยควรแนะนำให้ปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง แต่หากเป็นสิวจากฮอร์โมนธรรมดา ไม่มีโรคทางสูตินรีเวช จะรักษาตามความรุนแรง ถ้าไม่รุนแรงใช้ยาทาหรือยากิน แต่ถ้ารุนแรงหรือคนไข้ต้องการคุมกำเนิดอยู่แล้วสามารถรักษาด้วยยาคุมกำเนิดได้

รู้ไหม? สิวขึ้นคาง อาจเป็นโรคผิวหนังอื่น

(รบกวนลูกค้าเพิ่มรูปประกอบหัวข้อนี้ค่ะ เกิ้ลขอลบรูปประกอบแต่ละข้อออกนะคะ เพราะเดี๋ยวบทความจะยาวเกินไปค่ะ)

สิวขึ้นคางที่เราเข้าใจกันว่าเป็นสิวธรรมดา แท้จริงแล้วอาจเป็นสัญญาณของโรคผิวหนังชนิดอื่นที่ต้องการการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกวิธีก็ได้

1. รูขุมขนอักเสบที่คาง

รูขุมขนอักเสบที่คาง

รูขุมขนอักเสบเกิดจากการติดเชื้อราหรือเชื้อแบคทีเรีย หรือบางครั้งอาจเกิดหลังการทำเลเซอร์กำจัดขนบริเวณคาง มีลักษณะการอักเสบเหมือนสิว เป็นตุ่มน้ำหรือมีหนองเม็ดเล็ก แต่ไม่มีการอุดตัน การรักษา หากมีตุ่มหนองสามารถกดรีดหนองออกได้เพื่อให้การอักเสบลดลงเร็วขึ้น แต่ควรทำโดยแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ ส่วนการอักเสบที่ลึกรีดหนองออกยาก อาจใช้วิธีฉีดยาลดการอักเสบโดยแพทย์ได้

2. ผิวหนังอักเสบที่คาง

ผิวหนังอักเสบที่คาง

ผิวหนังอักเสบในลักษณะผื่นแดง มักเกิดจากการสัมผัสสารที่ระคายเคืองผิว หรือทำให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ผิวหนังบริเวณคาง

3. ขนคุดที่คาง

ขนคุดที่คาง

ขนคุดใต้ผิวหนัง จริงๆ ก็จัดเป็นรูขุมขนอักเสบอีกชนิดหนึ่ง เมื่อเกิดการอักเสบเป็นหนอง จะมีลักษณะคล้ายๆ สิวเช่นกัน กรณีส่วนใหญ่จะเกิดในเพศชายที่มีการโกนหนวด จนเกิดความระคายเคือง หรือเกิดการตัดขนใต้ชั้นผิวหนังทำให้ขนที่เติบโตออกมาติดอยู่ในผิวชั้นในได้

4. โรคผิวหนัง Rosacea

โรคผิวหนัง Rosacea

โรคผิวหนังอักเสบเรื้อรัง ชนิดหนึ่งเรียกว่า Rosacea ผิวเกิดรอยแดงหรือระคายเคืองได้ง่าย ทำให้เกิดตุ่มใต้คาง แต่ไม่ใช่สิว ซึ่ง Rosacea จะมีวิธีการรักษาต่างจากรักษาสิวบริเวณคาง แนะนำปรึกษาแพทย์เพื่อความแน่ใจในการรักษาอีกครั้ง

วิธีรักษาสิวที่คาง

(รบกวนลูกค้าเพิ่มรูปประกอบหัวข้อนี้ค่ะ เกิ้ลขอลบรูปประกอบแต่ละข้อออกนะคะ เพราะเดี๋ยวบทความจะยาวเกินไปค่ะ)

วิธีรักษาสิวที่คาง มีดังนี้

  1. เมื่อเป็นสิวที่คาง พยายามอย่าบีบแคะแกะเกา เพราะอาจทำให้การอักเสบรุนแรงขึ้น และเกิดแผลรอยแดงรอยดำตามมาได้
  2. รักษาความสะอาดบริเวณคาง หากแต่งหน้า ช่วงเย็นควรเช็ดทำความสะอาดเครื่องสำอางให้หมดจด และล้างหน้าซ้ำเพื่อไม่ให้มีเครื่องสำอางตกค้าง
  3. หากต้องแต่งหน้า ควรเลือกเครื่องสำอางที่ไม่มีส่วนผสมของน้ำมันมากเกินไป เลือกแบบ non-comedogenic และถ้าเป็นแป้งฝุ่นได้จะดีที่สุด
  4. ช่วงที่มีสิวอักเสบ ควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่อาจทำให้สิวเป็นหนักขึ้น และควรพักผ่อนให้เพียงพอ
  5. หลีกเลี่ยงความเครียด งดอาหารจำพวกน้ำตาลและนม งดสูบบุหรี่ อาจใช้ยาแต้มสิวหรือแผ่นแปะสิวตามความเหมาะสม

หากสิวอักเสบที่คางเป็นค่อนข้างมาก การปฏิบัติตัวตามข้อ 1 ถึงข้อ 5 อาจจะช่วยให้เห็นผล ไม่มากพอ อาจจะจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาสิวใกล้ฉัน

รักษาสิวกับแพทย์
Line @ : @mvitaclinic

สิวขึ้นรอบปาก คาง เกิดจากหน้ากากอนามัย แก้ยังไง

แพ้แมสก์สิวขึ้นที่คาง ในสภาวะการระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 นี้ ทำให้ทุกคนต้องสวมใส่หน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันตัวเอง ในทุกๆ วัน การใส่หน้ากากอนามัยก็พบว่าสามารถทำให้เกิดสิวได้มากขึ้นเช่นกัน เนื่องจากว่าอาจจะทำให้อับ แล้วทำให้เหงื่อหรือความมันบนใบหน้า รวมถึงเครื่องสำอางที่เราแต่งไว้ ทำให้เกิดสิวขึ้นคาง และการอุดตันผิวได้มากขึ้น

วิธีรักษาสิวที่คาง

  1. เมื่อเป็นสิวขึ้นคาง พยายามอย่าบีบแคะแกะเกาเพิ่ม เนื่องจากอาจจะทำให้ การอักเสบของสิวเป็นหนักมากขึ้นได้ แล้วยังอาจทำให้เกิดแผลรอยแดงรอยดำตามมาได้อีกด้วย
  2. รักษาความสะอาดของผิวบริเวณคาง หากแต่งหน้า ช่วงเย็นก็ควร เช็ดทำความสะอาดเครื่องสำอางให้หมดจด และใช้โฟมล้างหน้า ล้างออกซ้ำ เพื่อไม่ให้เหลือเครื่องสำอางตกค้างบนใบหน้า
  3. หากจำเป็นต้องแต่งหน้าควรเลือกใช้เครื่องสำอาง ที่ไม่มีส่วนผสมของน้ำมันมากจนเกินไป พยายามเลือกที่เป็น non comedogenic และถ้าเป็นแป้งฝุ่นได้จะยิ่งดีที่สุด
  4. ในช่วงที่มีสิวอักเสบขึ้น ควรเน้นหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่อาจจะทำให้สิวเป็นหนักขึ้น ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ควรเข้านอนให้เพียงพอ
  5. หลีกเลี่ยงความเครียด งดอาหารจำพวกน้ำตาลและนม งดสูบบุหรี่ อาจเลือกใช้ยาแต้มสิวหรือแผ่นแปะสิว ตามความเหมาะสม

หากสิวอักเสบที่คางเป็นค่อนข้างมาก การปฏิบัติตัวตามข้อ 1 ถึงข้อ 5 อาจจะช่วยให้เห็นผล ไม่มากพอ อาจจะจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาสิวใกล้ฉัน

1. รักษาสิวขึ้นคางด้วยยาทาน

สิวตรงคาง

ยาทานหลักที่ใช้รักษาสิวมี 2 กลุ่มคือ ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) เหมาะสำหรับผู้ที่มีสิวอักเสบร่วมด้วย ช่วยลดการอักเสบและฆ่าเชื้อแบคทีเรีย C. acnes

อีกกลุ่มคือยากลุ่มกรดวิตามินเอ (Isotretinoin) ออกฤทธิ์ลดความมันของผิว ลดการขับน้ำมันจากต่อมใต้ผิว ลดการอุดตันของรูขุมขน ลดการอักเสบ และช่วยลดเชื้อแบคทีเรีย C. acnes ให้ผลดีมากและเหมาะสำหรับสิวขึ้นคางชนิดรุนแรง แต่ไม่เหมาะกับผู้ที่มีแผนตั้งครรภ์และควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์

2. รักษาสิวขึ้นคางด้วยยาทา

เป็นสิวที่คาง

ยาทารักษาสิวที่คางมีหลายชนิด ได้แก่ Benzoyl peroxide หรือยากลุ่มกรดวิตามินเอ เช่น Adapalene gel ซึ่งเป็นยาที่ช่วยละลายสิวอุดตัน (Comedolytic) ช่วยให้สิวที่คางค่อย ๆ ลดลงและไม่ขึ้นใหม่ในระยะยาวหากใช้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ต้องระวังเรื่องการระคายเคืองและควรใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์

ยาทาอีกกลุ่มคือยาทาปฏิชีวนะ เช่น Clindamycin และ Erythromycin ช่วยลดเชื้อ C. acnes ได้ดี แต่ควรใช้ร่วมกับยาทาชนิดอื่นด้วยเพื่อป้องกันการดื้อยา

3. รักษาสิวขึ้นคางด้วยยาปรับฮอร์โมน

สิวอักเสบที่คาง

สำหรับสิวที่คางที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมน การรักษาด้วยยาคุมกำเนิดชนิดรับประทานเป็นอีกทางเลือก โดยแพทย์จะแนะนำเฉพาะผู้ที่ต้องการคุมกำเนิดอยู่แล้ว แต่ไม่แนะนำให้ทานเพื่อรักษาสิวอย่างเดียวเพราะมีผลข้างเคียง ควรเลือกยาคุมรุ่นใหม่ที่มีโปรเจสเตอโรนต่ำเพื่อลดการกระตุ้นสิว ทั้งนี้ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เสมอ

4. การเลเซอร์สิว

สิวขึ้นที่คาง

อีกวิธีในการรักษาที่เห็นผลดีและรวดเร็วคือการทำเลเซอร์สิวที่คาง ซึ่งเลเซอร์จะช่วยลดสิวได้ผลค่อนข้างรวดเร็วและนอกจากนี้ยังช่วยในเรื่องของรอยแดงรอยดำจากสิวด้วยครับ เลเซอร์ที่นิยมนำมาใช้ในการรักษาสิวได้แก่ Vbeam laser, Proyellow Laser, Long Pulsed laser เป็นต้นครับ

5. การกดสิวที่คาง

สิวเห่อคาง

สำหรับท่านที่มีสิวอุดตันที่ค้างมาจากการกดสิวขึ้นคางก็จะช่วยทำให้สิวอุดตันลดลงได้อย่างรวดเร็วส่งผลให้การรักษาสิวเห็นผลเร็วยิ่งขึ้นครับ แต่ทั้งนี้การกดสิวต้องทำโดยผู้เชี่ยวชาญ และใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่ออกแบบมาเพื่อการกดสิวโดยเฉพาะ ที่มีความสะอาดปราศจากเชื้อ จึงจะได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดครับ

6. การฉีดสิวอักเสบใต้คาง

สิวขึ้นใต้คาง

สำหรับสิวอักเสบที่คาง การฉีดยาลดการอักเสบเข้าที่หัวสิวช่วยให้สิวยุบลงได้รวดเร็ว มักเห็นผลภายใน 24 ชั่วโมงหลังฉีด ข้อดีคือลดโอกาสเกิดรอยแดง รอยดำ และหลุมสิว อย่างไรก็ตาม ควรดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญเพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงเช่นเดียวกับการกดสิว

7. ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนัง

สิวที่คาง เกิดจาก

โดยสรุปเลยสำหรับท่านที่มีสิวขึ้นคางค่อนข้างมากไม่ว่าจะเป็นสิวอุดตันหรือสิวอักเสบ หากรักษาด้วยตัวเองแล้วไม่ได้ผล หมอแนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ด้านการรักษาสิวโดยตรง เพื่อผลลัพธ์ที่รวดเร็วและปลอดภัย จะเป็นการดีที่สุดครับ

เพื่อจะได้แนะนำตัวยาที่เหมาะสมแนะนำวิธีการใช้ที่ถูกต้องรวมถึงทำหัตถการต่างๆ เพื่อช่วยทำให้สิวที่คางหายเร็วขึ้นครับ

สิวขึ้นคาง วิธีดูแลรักษา ไม่ให้เป็นซ้ำ ?

เอ็มวีต้าคลินิก สิวฮอร์โมน

วิธีดูแลรักษาไม่ให้เป็นสิวขึ้นคางซ้ำ หลังการรักษาให้สิวที่คางหายแล้วนั้น มีวิธีดูแลผิวอย่างไร มีคำแนะนำ ดังนี้

1. หาสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดสิวที่คาง

โดยสาเหตุที่หมอได้กล่าวไปแล้วในหัวข้อด้านบนนั้นมีหลายข้อก็จริงอยู่ แต่ในคนไข้แต่ละท่านสาเหตุหลักอาจจะไม่เหมือนกัน อาจจะเป็นเพียงข้อใดข้อหนึ่งในข้อที่กล่าวมาข้างต้น

หากเราทราบสาเหตุหลักก็ให้พยายามหลีกเลี่ยงสาเหตุนั้นๆ เป็นพิเศษ เช่นบางท่านเป็นสิวขึ้นคางจากการชอบทานอาหารพวกเบเกอรี่ หลังจากที่รักษาจนสิวหายแล้วก็ให้พยายามหลีกเลี่ยงอาหารกลุ่มนี้เป็นพิเศษ ต่อเนื่องไป โดยปกติก็น่าจะทำให้สิวไม่ค่อยกลับมาแล้ว

2. แต่งหน้าเท่าที่จำเป็นเท่านั้น

หลีกเลี่ยงการแต่งหน้า หรือแต่งหน้าเท่าที่จำเป็นเท่านั้น เพื่อลดโอกาสที่จะเกิดการอุดตัน สิวตรงคางเพิ่ม

3. การเลือกใช้สกินแคร์

พยายามเลือกใช้สกินแคร์ ที่มีความมันไม่มากนัก เน้นที่เป็น Water based เช่นพวกเจล เอสเซนส์ น้ำตบ หากท่าน มีอาการแพ้แอลกอฮอล์ก็ควรหลีกเลี่ยงการใช้สกินแคร์ที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสมมากๆด้วยนะครับ

4. ลดความเครียด

พยายามหลีกเลี่ยงความเครียด และพักผ่อนให้เพียงพอ

5. ลดของหวาน ของมัน

หลีกเลี่ยงการทานอาหารที่มีน้ำตาลสูง พวกขนมหวานต่างๆ และหลีกเลี่ยงอาหารประเภทที่ทำมาจากนม ให้ได้มากที่สุดครับ

6. รักษาความสะอาด

รักษาความสะอาดของผิวบริเวณใบหน้า คาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผิวตรงบริเวณที่อยู่ใต้หน้ากาก

7. เลี่ยงความร้อน

หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ร้อนที่จะทำให้มีเหงื่อ ทำให้เป็นสาเหตุของการเกิดสิวที่คางได้

สิวไม่มีหัว นูนๆ เกิดจากอะไร

แนวทางการป้องกันไม่ให้เป็นสิวขึ้นคาง

แนวทางการป้องกันไม่ให้เป็นสิวขึ้นที่คาง

  1. รักษาความสะอาดผิวหน้า โดยเฉพาะผิวบริเวณคางให้ดีที่สุด หมั่นล้างหน้าทำความสะอาดเช้า เย็น หากแต่งหน้าควรใช้ที่เช็ดเครื่องสำอางเช็ดออกทั่วใบหน้าและบริเวณคางให้เกลี้ยงที่สุด
  2. พยายามใช้สกินแคร์หรือครีมบำรุงผิวที่ไม่หนักจนเกินไป ควรใช้ที่เป็นเนื้อเจล หรือมีส่วนผสมหลักเป็นน้ำ water based เพื่อลดการอุดตันของรูขุมขน
  3. หลีกเลี่ยงการใช้มือที่สกปรกจับคาง สามารถทำให้เกิดสิวขึ้นคาง ควรล้างมือให้สะอาดก่อนจับบริเวณคาง
  4. พยายามพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ควรนอนดึก
  5. ทำจิตใจให้ผ่อนคลายอยู่เสมอ พยายามไม่เครียด
  6. พยายามเลี่ยงอาหารหวาน นม น้ำตาล

รักษาสิวที่คางที่ไหนดี ?

การเลือกคลินิกรักษาสิวที่เหมาะสมนั้นอาจจะพิจารณาจากหลายๆปัจจัย เช่นอาจจะดูจากรีวิว ที่มีคนทำแล้วเห็นผลค่อนข้างดี รู้จักความน่าเชื่อถือของเครื่องมืออุปกรณ์ แพทย์และทีมงานที่ให้การรักษา เพื่อประกอบเป็นปัจจัยในการตัดสินใจ เลือกคลินิกที่เหมาะสมครับ

รักษาสิวขึ้นคางที่เอ็มวีต้าคลินิก

ที่เอ็มวีต้าคลินิก หมอได้ออกแบบโปรแกรมที่ดูแลสิวและรวมถึงรอยสิวที่คาง ได้อย่างครอบคลุม คนไข้จะเห็นผลการรักษาได้อย่างรวดเร็ว สิวขึ้นคางจะเริ่มดีขึ้นตั้งแต่ครั้งแรกหลังการรักษา และจะดีขึ้นเรื่อยๆในทุกๆครั้งครับ

หากท่านที่มีสิวอักเสบค่อนข้างเยอะหรือมีขนาดโต มักจะมีรอยสิวร่วมด้วย หมอแนะนำเป็นโปรแกรม Mediaclear เมดิแอคเคลียร์ เป็นโปรแกรมยอดนิยมที่เห็นผลเร็วมากที่สุดครับ

ส่วนกรณีท่านที่มีสิวอุดตันมาก แต่มีอักเสบเพียงเล็กน้อย ก็จะเหมาะกับโปรแกรม Acni-Clear แอคนิเคลียร์ ที่ประกอบด้วยทรีตเม้นต์ การกดสิว ฉีดสิวและมีตัวยารักษาสิวทั้งยาทายากินให้ด้วยครับ

คลินิกรักษาสิว เอ็มวีต้าคลินิก-01
รักษาสิวกับแพทย์
Line @ : @mvitaclinic

รีวิว รักษาสิวที่คาง

A : สิวที่คางส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของฮอร์โมนในร่างกาย โดยเฉพาะผู้หญิงก่อนมีประจำเดือน รวมถึงสิวที่คางอาจเกิดจากการใส่หน้ากากอนามัยได้เช่นกัน เพราะหน้ากากอนามัยทำให้เกิดความอับชื้น เหงื่อ ความมัน และเครื่องสำอางสะสม จนเกิดการอุดตันและกลายเป็นสิว

A : สิวที่คางมักเกิดจากระบบต่อมไร้ท่อที่ทำงานผิดปกติ ทำให้ฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนแปลง ฮอร์โมนเหล่านี้กระตุ้นต่อมไขมันที่ใบหน้าให้ผลิตน้ำมันมากเกินไป จนเกิดการอุดตันรูขุมขนและกลายเป็นสิว บริเวณที่พบบ่อยที่สุดคือคาง และอาการมักแย่ลงถ้าชอบบีบสิวหรือจับหน้าบ่อย ๆ

A : ดูแลตัวเองด้วยการลดความเครียด ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และทำกิจกรรมที่ชื่นชอบ ทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ โดยลดอาหารทอดที่มีไขมันสูง เพิ่มผักและผลไม้ให้มากขึ้น รักษาความสะอาดทั้งผิวหน้าและร่างกาย

สรุป สิวที่คาง

สิวขึ้นคาง เป็นสิวที่เกิดจากฮอร์โมนเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็เป็นบริเวณที่สิวเกิดจากสิ่งสกปรกได้มากเช่นกัน ดังนั้นวิธีการป้องกันที่ดีที่สุดคือการรักษาความสะอาด ร่วมกับการควบคุมระดับฮอร์โมนโดยการดูแลสุขภาพโดยรวม และหากสิวขึ้นที่คางเห่อ สิวขึ้นบริเวณคาง มามากกว่าปกติก็ควรปรึกษาแพทย์ผิวหนังทันที เพื่อหาสาเหตุและวิธีการรักษาต่อไป

หากท่านใดอ่านมาถึงตรงนี้แล้วรู้สึกสนใจ อยากเข้ารับบริการโบท็อกซ์ หรือหากอยากต้องการประเมินผิวหน้า สามารถติดต่อนัดคิวพบหมอ หรือสอบถามโปรโมชั่น ได้ที่…

  • เปิด วันอังคาร – อาทิตย์ (ปิดทุกวันจันทร์)
  • อังคาร – ศุกร์ : 11:00 – 20:00 , เสาร์ – อาทิตย์ : 10:00 – 20:00
  • เอ็มวีต้า คลินิก (คลิก) ตั้งอยู่บน ถนน อโศกมนตรี หรือสุขุมวิท 21 ตรงข้ามโรงพยาบาลจักษุรัตนิน ครับ
  • สามารถจอดรถได้ที่ คอนโด สุขุมวิท ลิฟวิ่ง ทาวน์ ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมครับ
  • เดินทางสะดวกได้ง่ายๆ สำหรับคนที่ไม่มีรถ หรือเลี่ยงรถติด ก็มาง่ายมากๆครับเพราะร้านเรา ใกล้กับ MRT เพชรบุรี ออก Exit 2 เดินมา
  • ทางถนนอโศกมนตรี ประมาณ 200 เมตร ก็ถึง M Vita Clinic แล้วครับ

เอกสารอ้างอิง

  • Tan AU, Schlosser BJ, Paller AS. A review of diagnosis and treatment of acne in adult female patients. Int J Womens Dermatol. 2017;4(2):56-71. Published 2017 Dec 23. doi:10.1016/j.ijwd.2017.10.006
  • Bagatin E, Freitas THP, Rivitti-Machado MC, et al. Adult female acne: a guide to clinical practice [published correction appears in An Bras Dermatol. 2019 Mar-Apr;94(2):255. Machado MCR [corrected to Rivitti-Machado MC]]. An Bras Dermatol. 2019;94(1):62-75. doi:10.1590/abd1806-4841.20198203
  • Iftikhar U, Choudhry N. Serum levels of androgens in acne & their role in acne severity. Pak J Med Sci. 2019;35(1):146-150. doi:10.12669/pjms.35.1.131

วันเผยแพร่

ปรึกษาทุกปัญหาความงามกับคุณหมอโดยตรง

    ชื่อ-สกุล*:

    เบอร์ติดต่อกลับ*:

    อีเมล์สำหรับส่งข้อมูล *

    เพศ:

    ชายหญิง

    อายุ (ปี):


    ต้องการปรึกษาคุณหมอเรื่องใด*:

    เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ สามารถศึกษา นโยบายความเป็นส่วนตัว และจัดการความเป็นส่วนตัว ได้ที่ ตั้งค่า

    ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

    คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

    ยอมรับทั้งหมด
    จัดการความเป็นส่วนตัว
    • เปิดใช้งานตลอด

    บันทึกการตั้งค่า