สิวฮอร์โมน สิวหนุ่มสาว ที่เกิดจากฮอร์โมน เกิดเป็นความกังวล แต่ความจริงแล้ว ไม่ได้เกิดขึ้นในวัยรุ่นที่มีฮอร์โมนผิดปกติเท่านั้น บางท่านมีความเครียด หรือสำหรับสาวๆ ที่อยู่ในช่วงรอบประจำเดือน ช่วงหมดประจำเดือน ช่วงตั้งครรภ์ ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนทำให้เกิดสิวได้เช่นกัน ทั้งหมดนี้ สามารถรักษาได้ เมื่อรักษาอย่างถูกต้องอย่างตรงจุด สิวที่เกิดจากฮอร์โมนนี้สามารถหายได้เช่นกัน
ฮอร์โมน ทำให้เกิดสิวได้อย่างไร บทความนี้ หมอจะให้คำตอบกับผู้ที่มีความกังวลเรื่องสิวชนิดนี้นะครับ ว่า สิวฮอร์โมนคืออะไร, สิวฮอร์โมนเกิดจากอะไร, รักษาสิวฮอร์โมน อย่างถูกวิธี ให้ได้ผลลัพธ์ ครบจบในบทความนี้ครับ
หมอขออนุญาตแนะนำตัวก่อนนะครับ หมอชื่อหมอเอ็ม นายแพทย์มนตรี อุดมประเสริฐกุล เป็นแพทย์ประจำเอ็มวีต้าคลินิกครับ
ทำไมต้องรักษาสิวฮอร์โมน ที่เอ็มวีต้าคลินิก
- ดูแลให้การรักษาโดยหมอเอ็ม ผู้มีประสบการณ์การรักษาสิวฮอร์โมนมามากกว่า 14 ปี
- เอ็มวีต้าคลินิก มีรีวิวด้านการรักษาสิวและรอยสิวเห็นผลชัดเจนเป็นจำนวนมาก จึงการันตีผลลัพธ์ได้เป็นอย่างดี
- คุณหมอเอ็มจะมีการตรวจวิเคราะห์ถึงสาเหตุของสิวฮอร์โมนอย่างลึกซึ้ง เพื่อให้การรักษาอย่างตรงจุด
- ใช้เทคโนโลยีเครื่องมือและเลเซอร์มาตรฐานระดับสากล ให้ผลลัพธ์ที่ชัดเจน และรวดเร็ว
สิวฮอร์โมน (Hormonal Acne)
สิวฮอร์โมน คือ สิวที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน เพราะโดยทั่วไปแล้ว สิว มักเกิดขึ้นเมื่อรูขุมขนอุดตันด้วยน้ำมันและเซลล์ผิวที่ตายแล้ว ซึ่งนำไปสู่การก่อตัวของสิว สิวหัวดำ และสิวหัวขาว และฮอร์โมนมีส่วนสำคัญในการเกิดสิว โดยเฉพาะแอนโดรเจนซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศชายภายในร่างกาย ทำให้สิวชนิดนี้เกิดขึ้นซ้ำๆ กลุ่มที่ทำให้เกิดชนิดนี้มักจะเป็นวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่
ลักษณะสิวฮอร์โมน
ลักษณะของสิวฮอร์โมนจะเหมือนกับสิวอื่นๆ ที่เป็นสิวอุดตัน สิวอักเสบ หรือบางท่านอักเสบอย่างรุนแรงขึ้น โดยสิวประเภทนี้มักมีลักษณะดังนี้
- มักมีอาการผิวมัน รูขุมขนกว้าง ร่วมด้วย
- ขนาดของหัวสิว ไม่ว่าจะเป็นสิวอุดตันหรือสิวอักเสบ ก็จะค่อนข้างเป็นเม็ดที่มีขนาดใหญ่ อาจมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่ม
- มักเป็นสิวที่มีลักษณะเป็นไตๆ แข็งนูน เมื่อขึ้นแล้วมักอยู่นานไม่ค่อยยุบ หายช้า และเป็นซ้ำๆ หรือมีอาการเป็นเรื้อรัง
- หลังสิวที่เกิดจากฮอร์โมนหายแล้ว อาจทำให้เกิดแผลเป็น รอยคล้ำ ได้
บริเวณที่มักเกิดสิวฮอร์โมน
โดยสิวฮอร์โมนมักจะเกิดขึ้นบนบริเวณใบหน้า บริเวณแก้ม U-Zone ช่วงล่างของใบหน้า และในบางกรณีอาจเกิดขึ้นบนบริเวณหลัง อก หรือแขน
สิวฮอร์โมนที่หน้าผาก
สิวฮอร์โมนที่หน้าผาก อาจเกิดจากความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ และนอนดึก จะทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนที่กระตุ้นการทำงานของต่อมไขมัน ทำให้เกิดเป็นสิวขึ้นหน้าผากได้ นอกจากนี้ยังพบได้บ่อยในน้องๆ คนไข้ที่เพิ่งเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น เพราะมีการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนอย่างรวดเร็วครับ
สิวฮอร์โมนที่แก้ม
สิวฮอร์โมนที่แก้ม เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระบบฮอร์โมนภายในร่างกาย เช่น ปริมาณฮอร์โมนที่สูงขึ้น ทำให้เกิดการสร้างคอลลาเจนและอนุมูลสารอื่นๆในผิวหนังได้มากขึ้น ซึ่งอาจทำให้เกิดการอุดตันของต่อมน้ำมันใต้ผิวหนัง และทำให้เกิดสิวที่แก้มได้
สิวฮอร์โมนที่คาง
สิวขึ้นคาง สิวฮอร์โมนที่คางมักจะเกิดขึ้น โดยเฉพาะเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนนี้ เช่น ในช่วงมีประจำเดือน หรือในท่านที่มีความผิดปกติของฮอร์โมน เช่น กลุ่มอาการ PCOS เป็นต้น
สิวฮอร์โมนที่หลัง
สิวที่หลัง อาจมีสาเหตุหนึ่งมาจากฮอร์โมนได้เช่นกัน หลักการเกิดสิวที่หลังเหมือนกับบริเวณอื่นข้างต้น แต่บริเวณหลังจะเป็นจุดที่สัมผัสกับเชื่อแบคทีเรียได้ง่าย เช่น การสวมเสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัวที่ไม่สะอาด ทำให้ไปกระตุ้นการเป็นสิวที่หลังได้ง่าย
สิวฮอร์โมนที่อก
สิวฮอร์โมนที่อก อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย ฮอร์โมนส่งผลต่อการทำงานของต่อมน้ำมันในผิวหนัง ทำให้เกิดการอุดตันของต่อมน้ำมันใต้ผิวหนัง ซึ่งอาจทำให้เกิดสิวชนิดนี้บนหน้าอกได้
สิวฮอร์โมนที่แขน
ฮอร์โมนไม่สมดุล การเพิ่มระดับฮอร์โมนแอนโดรเจน อาจทำให้ไปกระตุ้นต่อมไขมันให้ผลิตมากขึ้น ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น และไขมันเหล่านี้ ยังผสมกับปัจจัยภายนอก เช่น การสวมเสื้อผ้า การทาครีมบำรุงผิว อาจทำให้รูขุมขนอุดตันจนเกิดสิวที่แขนได้ เช่นเดียวกันกับบริเวณอื่นๆ
สิวฮอร์โมน เกิดจากอะไร
สิวฮอร์โมนเป็นสิวชนิดหนึ่งที่เกิดจากสาเหตุหลักๆ ดังนี้
- ความไม่สมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย
- ช่วงที่มีประจำเดือน
- ช่วงหมดประจำเดือน
- ภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ
- ความเครียด
- พักผ่อนไม่เพียงพอ
- ช่วงตั้งครรภ์
การที่ฮอร์โมนที่ผิดปกติ มีปริมาณมากขึ้น ฮอร์โมนจะเข้าไปกระตุ้นการทำงานของต่อมไขมันในรูขุมขน จึงทำให้ผลิตน้ำมันซีบัม เมื่อซีบัมมากขึ้น ทำให้ปริมาณเชื้อแบคทีเรียมากขึ้น กลายเป็นสิวฮอร์โมนนั่นเอง
เช่นเดียวกับการเกิดสิวทั่วไป คือ สิวเกิดจากการที่ซีบัมในรูขุมขนผลิตมากเกินไป ทำให้เกิดเชื้อแบคทีเรีย C.acne กับเซลล์ผิวที่ตายแล้วอุดตันในรูขุมขน แต่สาเหตุหลักของการทำให้เกิดสิวที่ขึ้นผิดปกตินี้มาจากฮอร์โมน
ฮอร์โมนทำให้เกิดสิวได้อย่างไร
สิวฮอร์โมนเกิดจาก แอนโดรเจน (ฮอร์โมนเพศชาย) ที่ร่างกายสามารถผลิตขึ้นได้ทั้งเพศชายและเพศหญิง หากอยู่ในปริมาณที่เหมาะสมในเพศหญิง จะไม่ทำให้เกิดปัญหาสิวชนิดนี้ แต่เมื่อมีการเพิ่มขึ้นของแอนโดรเจน จะกระตุ้นต่อมไขมันในผิวหนังให้ผลิตซีบัม ซึ่งเป็นสารที่มีความมันที่ช่วยหล่อลื่นผิวหนังและเส้นผม อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการผลิตซีบัมมากเกินไป มันสามารถอุดตันรูขุมขนและทำให้เกิดสิวได้
ในผู้หญิง การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนระหว่างรอบเดือนสามารถนำไปสู่การเพิ่มการผลิตแอนโดรเจน ซึ่งอาจทำให้เกิดสิวก่อนและระหว่างมีประจำเดือน ความไม่สมดุลของฮอร์โมน ก็สามารถทำให้เกิดสิวในผู้หญิงได้เช่นกัน
ในผู้ชาย การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในช่วงวัยแรกรุ่นสามารถนำไปสู่การเพิ่มการผลิตแอนโดรเจน ซึ่งอาจทำให้เกิดสิวได้ การผลิตแอนโดรเจนยังสามารถกระตุ้นได้ด้วยยาบางชนิด เช่น อนาโบลิคสเตียรอยด์ ซึ่งสามารถนำไปสู่การเกิดสิวได้
สิวฮอร์โมนแตกต่างจากสิวอื่นอย่างไร
สิวฮอร์โมน
- เป็นสิวชนิดหนึ่งที่มีสาเหตุหลักมาจากความไม่สมดุลของฮอร์โมน โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของ แอนโดรเจน
- สิวประเภทนี้มักจะปรากฏบนใบหน้าส่วนล่าง คาง และกราม
- มีลักษณะเป็นสิวขนาดใหญ่ และลึก
- เมื่อสิวยุบมักเหลือเป็นไตแข็งๆ และมักอักเสบเรื้อรังซ้ำๆ ที่เดิม
สิวประเภทอื่นๆ เช่น สิวจากแบคทีเรียหรือสิวอักเสบ
- สิวประเภทอื่นๆ เกิดจากปัจจัยที่แตกต่างกัน
- เกิดได้แทบทุกบริเวณบทร่างกาย ที่มีความผิดปกติของต่อมไขมัน มีแบคทีเรีย และการระคายเคือง
- สิวจากแบคทีเรียเกิดขึ้นเมื่อแบคทีเรียเข้าไปทำลายรูขุมขนที่อุดตัน ทำให้เกิดการอักเสบและเกิดเป็นสิว สิวหัวดำ และสิวหัวขาว การตอบสนองของภูมิคุ้มกันที่ไวเกินต่อแบคทีเรีย ที่ก่อให้เกิดสิว หรือสารระคายเคืองอื่นๆ ในผิวหนัง
อาการของสิวชนิดนี้และสิวประเภทอื่นๆ อาจคล้ายคลึงกัน สิวที่เกิดจากฮอร์โมนมักจะรุนแรงและคงอยู่นานกว่า โดยเฉพาะสิวซีสต์ ตุ่มสิวที่ลึก และเจ็บปวดอาจใช้เวลานานกว่าจะหายเมื่อเทียบกับสิวประเภทอื่น
วิธีรักษาสิวฮอร์โมน
แนะนำให้ใช้วิธีรักษาโดยการปรับความสมดุลของฮอร์โมนด้วยการทานยา แต่เมื่อเป็นสิวชนิดนี้แล้วการใช้ยาทาภายนอกเพื่อรักษาสิวยังคงจำเป็นเช่นกัน และยังมีวิธีรักษาสิวฮอร์โมนอื่นที่ให้ผลลัพธ์ที่ดี ได้แก่ การฉีดสิว การเลเซอร์รักษาสิว
1. ทานยารักษาสิวฮอร์โมน
- ยาปฏิชีวนะแบบรับประทาน (Antibiotics) ทั้งนี้ยาปฏิชีวนะยังมีในเรื่องของผลข้างเคียงต่อการใช้ยา จึงควรอยู่ในการดูแลของแพทย์
- ใช้ยาคุมกำเนิดรักษาสิวจากฮอร์โมน (Oral Contraceptives) เพื่อลดปริมาณแอนโดรเจน (Androgen)
- ยาไอโซเตรทติโนอิน เป็นที่นิยมใช้ในการรักษาสิว สำหรับผู้ที่เป็นสิวอักเสบปานกลาง – ขั้นรุนแรง มีคุณสมบัติช่วยยับยั้งการทำงานของต่อมไขมันที่ผลิตซีบัม (Sebum) ช่วยลดการอักเสบ
2. ทายารักษาสิวฮอร์โมน
- ยากลุ่มอนุพันธ์วิตามินเอ (Retinoids) ยากลุ่มนี้ยังจำเป็นต่อการใช้รักษาสิว สามารถรักษาได้ทั้งสิวอุดตัน และสิวอักเสบ แต่ตัวยายังคงมีข้อควรระวังคือ อาจทำให้ผิวแห้งลอก และไวต่อแสง
- เบนโซอิลเพอร์ออกไซด์ (Benzoyl Peroxide) มีคุณสมบัติฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของการเกิดสิว สิวอุดตัน สิวอักเสบ มีข้อควรระวังคือ อาจทำให้ผิวแห้งลอก ระคายเคือง
3. ฉีดสิวฮอร์โมน
การฉีดสิว เป็นการฉีดยาคอร์ติโคสเตียรอยด์โดยแพทย์ เพื่อลดการอักเสบของสิว กรณีเป็นก้อนแข็งอยู่ใต้ผิวหนัง สิวอักเสบ ปวดบวมแดง ให้ผลการรักษาที่ดี แต่ควรใช้ยาทาและวิธีการรักษาอื่นๆควบคู่ไปด้วย
4. เลเซอร์สิวและการบำบัดด้วยแสง
การรักษาสิวด้วยเลเซอร์และการบำบัดด้วยแสง ด้วยการรักษาแบบใหม่ ยิงตรงเข้าฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุการเกิดสิว ช่วยลดการอักเสบ ลดโอกาสการเกิดรอยสิว ผลข้างเคียงน้อย และให้ผลลัพธ์ดีอีกด้วยครับ มีเลเซอร์หลายชนิด ขึ้นอยู่กับลักษณะของสิว และแพทย์เห็นสมควรครับ
ผู้ที่เป็นสิว และต้องการได้รับการรักษาที่รวดเร็ว ให้ผลที่น่าพึงพอใจ สามารถค้นหาคลินิกรักษาสิวใกล้ฉันได้
5.ใช้สารผลัดเซลล์ผิว
- กรดอะซีลาอิก (Azelaic Acid) การใช้กรดควรอยู่ในความดูแลของแพทย์ หากใช้ในปริมาณไม่เหมาะสม อาจทำให้ผิวแสบ หรือเบิร์นได้ โดยกรดอะซีลาอิก เป็นที่ได้จากสารสกัดตามธรรมชาติ มีคุณสมบัติช่วยลดการอุดตันรูขุมขน ต้านการสร้างเม็ดสี และลดรอยดำหลังจากการรักษาสิวได้ดีอีกด้วย
- ใช้เคมีผลักเซลล์ผิว (Chemical Peel) โดยการผลัดผิวหนังชั้นนอกสุดออกมา เพื่อป้องกันการอุดตันรูขุมขนและช่วยในเรื่องของการผลัดเซลล์ผิว ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์ หากใช้ในปริมาณไม่เหมาะสม อาจทำให้ผิวแสบ หรือเบิร์นได้ครับ
6. ปรึกษาแพทย์ผิวหนังเฉพาะทาง
การปรึกษาแพทย์เพื่อรักษาสิว เพื่อให้การรักษาได้อย่างตรงจุด และให้ผลลัพธ์ที่ดี เนื่องจากสิวชนิดนี้เกิดจากภายในร่างกายเป็นหลัก ด้วยวิธีการรักษาที่หลากหลาย ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์จะดีที่สุด
ค้นหารักษาสิวใกล้ฉัน เพื่อปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
สิวฮอร์โมนรักษาที่เอ็มวีต้าคลินิก
การรักษาสิวฮอร์โมนที่ เอ็มวีต้าคลินิก ทุกเคสจะได้พบแพทย์เพื่อปรึกษาก่อน ก่อนที่คนไข้จะตัดสินใจรักษา เลือกโปรแกรม ที่เหมาะสม คอร์สที่แนะนำเหมาะสมกับสิวฮอร์โมนได้แก่ Medi-Aclear
โปรแกรม Medi – Aclear
โปรแกรมรักษาสิว เลเซอร์รักษาสิว และรอยสิว โปรแกรม Medi-Aclear ครบวงจรการรักษาสิว จะตอบโจทย์ ด้วยการจ่ายยาแบบ case by case โดยหมอเอ็ม นพ.มนตรี ที่ตรงตามสะภาพผิว และแต่ละบุคคลจริงๆ
คอร์ส Medi-Aclear ราคา
- รายครั้ง : 3,500 บาท
- คอร์ส 5 ครั้ง : 10,500 บาท
- คอร์ส 10 ครั้ง : 17,000 บาท
แนวทางป้องกันสิวฮอร์โมน
เนื่องจากสิวฮอร์โมนเกิดจากภายในร่างกายเรา เราสามารถลดการเกิดสิวประเภทสิวฮอร์โมนได้ด้วยตัวเราเอง ดังนี้
- พยายามไม่เครียด หากิจกรรมหรืองานอดิเรกทำ เพื่อผ่อนคลายสมองบ้าง
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- การรักษาความสะอาด และทำความสะอาดผิว เป็นเรื่องสำคัญ ช่วยลดโอกาสการเกิดสิวได้
- เลือกรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยงของมัน ของทอด ของหวาน
- ที่สำคัญงดบีบ แกะ เกา เด็ดขาด นอกจากจะทำให้สิวไม่หาย และทำให้เป็นหนักกว่าเดิม พร้อมรอยสิวที่ตามมาอีกด้วย
รีวิว รักษาสิว สิวฮอร์โมน และเลเซอร์รอยสิว
รีวิวรักษาสิวฮอร์โมนและเลเซอร์รอยสิวที่ เอ็มวีต้า คลินิก
สรุปเรื่องสิวฮอร์โมน
ฮอร์โมน โดยเฉพาะแอนโดรเจนสามารถนำไปสู่การเกิดสิวโดยกระตุ้นต่อมไขมันให้ผลิตซีบัมมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในช่วงวัยแรกรุ่น รอบเดือน และสภาวะต่างๆ การรักษาจำเป็นที่ต้องปรึกษาแพทย์โดยตรง ไม่แนะนำให้ซื้อยาเพื่อรักษาด้วยตัวเองครับ หมอเอ็ม ยินดีให้คำปรึกษาฟรี!! ครับ
คุณหมอเอ็มให้กำลังใจคนเป็นสิวทุกท่านนะครับ ว่าสิวไม่มีหัวรักษาหายได้ อย่างตรงจุด ดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเพิ่มความมั่นใจ กลับมาผิวสวย หน้าใส อีกครั้งครับ
- เปิด วันอังคาร – อาทิตย์ (ปิดทุกวันจันทร์)
- อังคาร – ศุกร์ : 11:00 – 20:00 , เสาร์ – อาทิตย์ : 10:00 – 20:00
- ตั้งอยู่บน ถนน อโศกมนตรี หรือสุขุมวิท 21 ตรงข้ามโรงพยาบาลจักษุรัตนิน ครับ
- สามารถจอดรถได้ที่ คอนโด สุขุมวิท ลิฟวิ่ง ทาวน์ ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมครับ
- เดินทางสะดวกได้ง่ายๆ สำหรับคนที่ไม่มีรถ หรือเลี่ยงรถติด ก็มาง่ายมากๆครับเพราะร้านเรา ใกล้กับ MRT เพชรบุรี ออก Exit 2 เดินมา
- ทางถนนอโศกมนตรี ประมาณ 200 เมตร ก็ถึง M Vita Clinic แล้วครับ
เอกสารอ้างอิง
- American Academy of Dermatology Association. Adult Acne. https://www.aad.org/public/diseases/acne/really-acne/adult-acne Accessed 9/29/2021.
- DermNet New Zealand Trust. Acne in Pregnancy.
https://dermnetnz.org/topics/acne-in-pregnancy/ Accessed 9/29/2021. - Merck Manuals. Acne.
https://www.merckmanuals.com/home/skin-disorders/acne-and-related-disorders/acne?query=hormonal%20acne Accessed 9/29/2021. - National Institute of Arthritis and Musculoskeletal and Skin Diseases. Acne. https://www.niams.nih.gov/health-topics/acne/advanced#tab-causes Accessed 9/29/2021.
วันเผยแพร่